PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) หรืออาการถุงน้ำในรังไข่หลายใบ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย มักจะมีระดับฮอร์โมน Androgen หรือฮอร์โมนเพศชายสูงกว่าปกติ อาการที่บ่งบอกว่าเป็น PCOS เช่น
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ โดยปกติระยะห่างของประจำเดือนจะมาประมาณรอบละ 28 วัน คนที่มีภาวะ PCOS นี้รอบประจำเดือนห่างออกไป อาจจะเกิน 35 วันหรือบางคนอาจจะเป็นหลายเดือนเลยก็ได้ เกิดจากรังไข่อาจไม่ปล่อยไข่ตกออกมาตามปกติ หรือตกไข่ไม่สม่ำเสมอ เมื่อการตกไข่ผิดปกติ ก็จะส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือขายหายไปได้
- มีขนดก เช่น มีขนขึ้นตามร่างกายมากกว่าปกติตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- มีสิว เนื่องจากผู้หญิงเป็น PCOS มักจะมีระดับฮอร์โมนเพศชายสูงกว่าปกติ ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น
- ผมบาง เนื่องมาจากฮอร์โมนเพศชายอาจทำให้รากผลอ่อนแอลง และทำให้ผมหลุดร่วงได้
- น้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น ผู้ที่เป็น PCOS มักจะมีภาวะที่ดื้ออินซูลิน หลายคนอาจมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน แต่ในขณะเดียวกันผู้หญิงบางคนก็มีน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือต่ำกว่าปกติได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามปัจจัยทางด้านน้ำหนักไม่ได้แตกต่างกัน นั่นหมายความว่าไม่ว่าจะผอมหรืออ้วน คุณภาพและจำนวนไข่ของผู้ที่เป็นก็ยังคงไม่ดีเท่ากับผู้ที่ไม่ได้มีภาวะนี้
ความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนของ PCOS หรือถุงน้ำในรังไข่
- ภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากการตกไข่ผิดปกติ ทำให้การตั้งครรภ์เป็นไปได้ยาก
- โรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วย PCOS
- โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงและระดับไขมันในเลือดสูงที่เกิดจาก PCOS เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ภาวะอ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันสะสมบริเวณหน้าท้อง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคต่างๆ
- โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เนื่องจากการที่ไม่มีการตกไข่เป็นประจำ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
- ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล: อาการทางกายและจิตใจที่เกิดจาก PCOS อาจส่งผลต่อสุขภาพจิต
สาเหตุของ PCOS ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจเกี่ยวข้องและส่งผลให้เกิดภาวะนี้ได้ เช่น
- พันธุกรรม มีการศึกษาพบว่า ถ้าประวัติคนในครอบครัวเป็น PCOS ก็จะมีโอกาสเป็น PCOS นี้ได้สูงกว่าคนทั่วไป เกิดจากความผิดปกติของยีนซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการผลิตฮอร์โมนเพศชาย
- ฮอร์โมนเพศชายที่สูงกว่าปกติ ส่งผลให้รังไข่ทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดถึงน้ำจำนวนมาก และรบกวนการตกไข่ และประจำเดือนได้
- ภาวะดื้ออินซูลิน ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเพศชายมากขึ้น อาจนำไปสู่ความดันโลหิตสูงได้
ทำไม PCOS หรือถุงน้ำในรังไข่ถึงส่งผลต่อการมีบุตรยาก
- การตกไข่ที่ผิดปกติ ฮอร์โมนที่ไม่สมดุล ทำให้รังไข่ไม่สามารถปล่อยไข่สุกออกมาได้ตามปกติ หรืออาจมีไข่หลายฟองพร้อมกัน
- คุณภาพของไข่ไม่ดี เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายที่สูง อาจส่งผลต่อคุณภาพของไข่ ทำให้ไข่ไม่แข็งแรงพอที่จะปฏิสนธิได้
การทำเด็กหลอดแก้วสำหรับผู้ที่เป็น PCOS หรือถุงน้ำในรังไข่ ทำอย่างไร?
โดยการรักษาเบื้องต้น อาจมีการแนะนำให้ลดน้ำหนัก บางคนมีภาวะอ้วนพอลดน้ำหนักประจำเดือนก็จะกลับมาปกติได้เหมือนเดิม ก็แปลว่าการตกไข่กลับมาเป็นปกติ และสามารถมีลูกได้ตามธรรมชาติ
- การตรวจวินิจฉัย: แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและตรวจเลือดเพื่อประเมินภาวะ PCOS และเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการทำเด็กหลอดแก้ว
- การกระตุ้นรังไข่: แพทย์จะให้ยาเพื่อกระตุ้นให้รังไข่สร้างไข่หลายฟอง
- การเก็บไข่: เมื่อไข่โตเต็มที่ แพทย์จะทำการเก็บไข่โดยใช้เข็มดูดผ่านทางช่องคลอด
- การปฏิสนธิ: ไข่ที่ได้จะถูกนำไปปฏิสนธิกับเชื้ออสุจิของสามีในห้องปฏิบัติการ
- การเพาะเลี้ยงตัวอ่อน: ตัวอ่อนที่เกิดขึ้นจะถูกเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการเป็นเวลา 3-5 วัน
- การย้ายตัวอ่อน: ตัวอ่อนที่แข็งแรงจะถูกนำไปฝังในโพรงมดลูก
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้วในผู้ป่วย PCOS หรือถุงน้ำในรังไข่
- อายุ อายุที่น้อยลงจะทำให้โอกาสสำเร็จสูงขึ้น
- ดัชนีมวลกาย (BMI) การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะช่วยเพิ่มโอกาสสำเร็จ
- สาเหตุของ PCOS ความรุนแรงของ PCOS จะส่งผลต่อความยากง่ายในการรักษา
- การตอบสนองต่อยา การตอบสนองของร่างกายต่อยารักษาจะส่งผลต่อจำนวนและคุณภาพของไข่ที่ได้
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากได้ค่ะ
Appointment
iBaby Fertility & Genetic Center
11 Floor, Athenee Tower, Wittayu Road
Mon – Sat 9 am – 4 pm
More Information
Tel : +6621688640
Tel : +6621688641
Tel : +6621688642
Tel : +6621688643
Mail : info@iBabyFertility.com
Line : @iBaby