อาชีพนักกีฬา สิ่งที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ คือการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่น่าจะมีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะกับการมีลูก แต่อย่างไรก็ตามการใช้ร่างกายที่มากเกินไป หรือดูแลรักษารูปร่างมากเกินไป อาจจะส่งผลทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะมีบุตรยากก็เป็นได้
น้ำหนักที่น้อยเกินไป มีผลต่อการมีบุตรยากหรือไม่
มีหลายงานวิจัยที่เก็บข้อมูลจากนักกีฬาเพศหญิงที่มีน้ำหนักที่น้อยกว่าปกติ หรือ BMI (Body Mass Index) ที่ต่ำกว่าปกติ จะมีปัญหาเรื่องการมีบุตรยาก ซึ่งประมาณ 12% ของคนที่มีบุตรยาก จะมีปัญหามาจากน้ำหนักที่น้อยเกินไปหรือ BMI ที่ต่ำเกินไป
เนื่องจากไขมันในร่างกายเป็นส่วนสำคัญต่อการเจริญพันธ์ ฮอร์โมนเพศเป็นฮอร์โมนที่ต้องใช้ไขมันและสะสมอยู่ในชั้นไขมันในร่างกาย การที่มี BMI ต่ำ จะไปลดระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติของรอบประจำเดือนได้
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลที่บอกว่าน้ำหนักเท่าไหร่ ถึงอยู่ในช่วงที่ดีที่สุดสำหรับคนที่กำลังพยายามจะมีบุตร บางคนผอมตั้งแต่แรกแต่มีการทานอาหารที่ได้ประโยชน์ครบทุกหมู่ ก็อาจจะไม่มีปัญหาเรื่องการมีบุตร แต่บางคนที่ผอมจากการทานอาหารที่ครบแล้ว ยังออกกำลังกายมากเกินกว่าอาหารที่ได้รับ ก็อาจมีปัญหาเรื่องการมีบุตรได้ แต่ค่า BMI ที่เหมาะสมสำหรับคนที่ต้องการจะมีบุตร ควรช่วงค่า BMI ที่ 19-25 จะเหมาะสมที่สุด
ออกกำลังกายมากไป ทำให้มีบุตรยากหรือไม่
การออกกำลังกายในคนที่มีรูปร่างกับขนาดที่แตกต่างกันก็มีผลไม่เหมือนกัน ผู้หญิงบางคนอาจออกกำลังกายมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวันทุกวัน ก็อาจจะไม่มีปัญหาเรื่องมีบุตรยาก แต่บางคนออกกำลังกายแค่ 3 วันต่อสัปดาห์ก็อาจจะทำให้มีผลได้
ทั้งนี้ระหว่างการออกกำลังกาย จะมีสารที่เรียกว่า Endorphins ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เรารู้สึกว่ามีความสุข ซึ่ง Endorphins นี้ก็จะไปเพิ่มระดับของฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนผลิตน้ำนมและจะไปลดความสามารถในการมีบุตรได้
อาการที่นักกีฬาควรเฝ้าระวังและมีผลต่อการมีบุตรยาก
อาการทางร่างกาย
- ประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ
- น้ำหนักลดลงไม่ทราบสาเหตุ
- ความดันสูง
- หัวใจเต้นช้า
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ติดเชื้อง่าย
- ระบบทางเดินอาการแปรปรวนและไม่อยากอาหาร
อาการทางจิตใจ
- ภาวะซึมเศร้า
- ความมั่นใจในตัวเองลดลง
- อารมณ์แปรปรวน
- ขี้เกียจ
- สมาธิลดลง
- กังวล เครียด
- การนอนผิดปกติ
- รู้สึกฉุนเฉียวง่าย
บทความที่น่าสนใจ