ทำสวยตอนท้อง หรือแม้แต่ในช่วงของการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI) สำคัญแค่ไหน เพราะสาว ๆ ส่วนใหญ่ก็อยากดูดีตลอดเวลา ไม่เว้นแม้แต่ตอนตั้งครรภ์ ดังนั้นการทำสวยตั้งแต่ใบหน้าจรดปลายเท้าจึงเป็นของคู่กัน เพราะสาวๆ ทั้งหลายนั้นไม่ได้ตื่นนอนตอนเช้าแล้วหน้าจะใสไร้จุดด่างดำ ไร้รูขุมขน แก้มมีเลือดฝาด ริมฝีปากอมชมพู ผมสลวยสวยเก๋ แต่ละคนก็มีเรื่องที่ต้องทำสวยกันทั้งนั้น แต่ในช่วงกระตุ้นไข่ ใส่ตัวอ่อน และขั้นตอนทั้งหลายในการพยายามตั้งครรภ์นั้น เหล่าว่าที่คุณแม่ ๆ ก็จะมีคำถามที่ผุดขึ้นมา แต่ไม่รู้ว่าจะไปไถ่ถามใครดี เช่น ช่วงกระตุ้นไข่ทำเลเซอร์ได้ไหม คนท้องทาเล็บได้ไหม คนท้องทำสีผมได้ไหม หรือแม้กระทั่งคนท้องนวดได้ไหม
การใช้สกินแคร์และเครื่องสำอาง
ช่วงกระตุ้นไข่ เครื่องสำอางค์โดยส่วนใหญ่ไม่ได้มีผลมากต่อคุณภาพของไข่ ส่วนใหญ่มักจะใช้ได้
ช่วงใส่ตัวอ่อน อันเนื่องมาจากความกังวลเรื่องการพัฒนาการของตัวอ่อนในท้อง ดังนั้นสารที่อยู่ในเครื่องสำอางค์ที่มี กรดวิตามินเอ ก็จะมีผลต่อตัวอ่อน แต่อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่สารเหล่านี้ถ้าใช้ทาผิวจะมีปริมาณน้อย ซึ่งบางคนเผลอทาไปก็อาจจะไม่ต้องกังวลมากนัก ตัวยาที่มีผลมากจริง ๆ คือยารับประทานที่เป็นวิตามินเอ ซึ่งจะเพิ่มโอกาสความพิการในเด็กอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงตั้งครรภ์
การทำทรีทเมนท์และเลเซอร์
การทำทรีทเมนท์เหล่านี้เป็นการทำเฉพาะที่และสารหรือเลเซอร์ก็ออกฤทธิ์เฉพาะที่ ดังนั้นมักจะไม่ค่อยมีผลต่อการตั้งครรภ์
การนวด แช่น้ำ และทำสปา
หากคุณแม่เมื่อยการนวดควรจะหลีกเลี่ยงการนวดบริเวณท้องและฝ่าเท้า เนื่องจากมีผลกับการบีบรัดตัวของมดลูก ทำให้อาจจะมีการแท้งหรือเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดได้ ส่วนนวดอวัยวะอื่น ๆ ก็สามารถทำได้โดยที่ไม่ได้นอนคว่ำ
การปลูกผม ทำสีผม และการทำเล็บ
การย้อมผมหรือทำสีผมหรือดัดผมหรือเลเซอร์ก็สามารถทำได้ ทั้งกรณีกระตุ้นไข่และใส่ตัวอ่อน เนื่องจากเป็นสารเคมีเฉพาะที่ไม่ได้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย แต่ส่วนใหญ่ที่ไม่แนะนำให้แม่ท้องแนะนำ อาจเป็นเพราะขั้นตอนเหล่านี้ใช้สารเคมีและระยะเวลานาน สำหรับคนที่แพ้ท้องอาจจะทำให้อาการหนักขึ้น หรือต้องนั่งอยู่กับที่นาน ๆ จนทำให้เป็นตะคริว หรือปวดปัสสาวะ ไม่สะดวกต่อคุณแม่ได้
แต่กรณีปลูกผมซึ่งอาจจะต้องนอนคว่ำ ไม่แนะนำให้ทำ เพราะอาจจะมีผลต่อไข่ที่โต หรือมดลูกที่โตขึ้นมาได้
นอกจากนี้ ว่าที่คุณแม่ไม่ควรทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแท้ง เช่น การออกกำลังกายที่มีโอกาสมีอุบัติเหตุได้ง่าย หรือกิจกรรมที่หนักเกินไป อีกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการของตัวอ่อน อย่างการใช้ยาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นยาที่กินอยู่เป็นประจำตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ หรือวิตามินและอาหารเสริมต่าง ๆ ที่กินเพื่อบำรุงครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ในระยะสามเดือนแรก ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กในครรภ์กำลังมีการสร้างอวัยวะที่สมบูรณ์
- เพราะอะไร? โรคคางทูมถึงส่งผลต่อสเปิร์ม
- ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน กับ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ต่างกันอย่างไร
- ฮอร์โมนเอสโตรเจน คืออะไร
- ฮอร์โมน P4 หรือโปรเจสเตอโรน สำคัญอย่างไร
- มะเร็งเต้านม ไม่เลือกเพศ
มีข้อสงสัยเพิ่มเติมหรือนัดหมายแพทย์ ติดต่อคลินิก iBaby ได้ที่ช่องทางด้านล่าง
Line: @iBaby หรือ https://lin.ee/xxIlgyJ
Tel: 021688640-43
Email: info@iBabyFertility.com
Website: https://ibabyfertility.com
WeChat: iBaby_Fertility