หลายๆ คน อาจจะพอเห็นกระแสในโซเชียลมีเดียผ่านตากันมาบ้าง เรื่องน้ำมะกรูดสามารถช่วยให้มีลูกได้ง่ายขึ้นได้ ดื่มในช่วงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ แต่ทั้งนี้ความคิดเห็นก็แตกต่างกันออกไป บ้างก็ว่าได้ผลจริงพร้อมโชว์ผลการตรวจขึ้น 2 ขีด แต้บ้างก็ว่าดื่มค่อนข้างยาก ทำให้ท้องเสีย ปวดท้อง หรือบางรายดื่มแล้วประจำเดือนเลื่อน คุณหมอบางท่านก็ไม่แนะนำก็มี ในฐานะผู้ที่กำลังมีบุตรยากก็เลยไม่รู้ว่าจะลองดื่มดีหรือไม่ วันนี้ iBaby เลยขอนำบทความนี้มาให้ทุกท่านได้ลองอ่านและพิจารณากันดูค่ะ
น้ำมะกรูด ช่วยได้จริงไหม
ก่อนที่เราจะไปดูถึงประโยชน์ว่ามีส่วนช่วยยังไงบ้างในการพยายามตั้งครรภ์ เรามาดูกันก่อนค่ะว่า ปกติแล้วคนทั่วไปใช้ประโยชน์อะไรจากมะกรูดบ้าง
โดยปกติแล้วเราจะใช้น้ำมันที่อยู่ในเปลือกของมะกรูดเพื่อคลายเครียด แช่น้ำร้อนเพื่อให้มีกลิ่นบำบัด หรือเอาใบมะกรูดที่ถือว่าเป็นสมุนไพรไทย ที่มีเบต้าแคโรทีนเป็นส่วนประกอบเพื่อใส่ในเมนูอาหาร ประเภทต้มผัดแกงทอดต่าง ๆ อย่างต้มยำหรือจิ้มจุ่ม นอกจากใบแล้วผลมะกรูดด็สามารถนำไปทำแชมพูสระผมได้อีกด้วย
Quercetin (เควอซิทิน) คืออะไร ?
สาร Quercetin หรือที่เรียก เควอซิทิน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ซึ่งพบมากในผักและผลไม้ที่มีสีแดง สีส้ม หรือสีม่วง มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยลดอาการบวม ควบคุมน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ซึ่งมักถูกนำไปใช้เพื่อป้องกันมะเร็ง ใช้ในการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคข้ออักเสบ การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ และโรคเบาหวาน
มีผลต่อร่างกายโดยทั่วไป ช่วยเรื่องลดการอักเสบ ปรับระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพิ่มเลือดไหลเวียนซึ่งในแง่การทำงานของรังไข่ การลดการอักเสบก็ทำให้รังไข่เสื่อมช้าลง การไหลเวียนเลือดไปรังไข่มดลูกดีขึ้น โอกาสที่รังไข่ได้รับฮอร์โมนในการกระตุ้นไข่มากขึ้น
Quercetin (เควอซิทิน) และงานวิจัย
- ในผู้หญิงที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์พบว่าการได้รับเควอซิทิน 500 มก. จากการเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ จะมีอาการปวดตึงในตอนเช้าและหลังทำกิจกรรมลกลงอย่างมีนัยยะสำคัญ
- ในสัตว์ทดลองที่มีอาการของโรคภูมิแพ้ พบว่าเควอซิทิน เข้าไปยับยั้งการแพ้ถั่วลิสงอย่างรุนแรงฉับพลัน แต่ยังไม่มีผลการทดลองในคน
- ในสัตว์ทดลองที่มีเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก พบว่าเควอซิทินสามารถยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งและกระตุ้นในเซลล์ตายลงได้ แต่เนื่องจากเป็นการทดลองในสัตว์เท่านั้น จึงยังไม่มีการแนะนำให้นำเควอซิทินไปใช้เป็นทางเลือกในการรักษามะเร็ง
- ในสัตว์ทดลองที่มีความผิดปกติของโรคสมองเสื่อม เช่น อัลไซเมอร์ ในงานวิจัยหนึ่งที่ทดลองกับหนูที่เป็นอัลไซเมอร์ในระยะแรกถึงระยะกลาง และได้รับการฉีดเควอซิทินทุก ๆ 2 วันเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่าหนูมีการเรียนรู้ดีขึ้น แต่ไม่มีผลต่อสัตว์ทดลองที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ตั้งแต่ระยะกลางถึงระยะสุดท้าย
- ในโรคความดันเลือดที่ทดลองในหลอดทดลอง พบว่าเควอซิทินช่วยผ่อนคลายหลอดเลือดได้ และการทดลองในหนูก็มีค่าความดันเลือดที่ลดลง ข้อมูลนี้ไปในทิศทางเดียวกันกับการเก็บข้อมูล 9 ชิ้นที่ทำในคน 580 คน ที่รับประทานเควอซิทินในรูปแบบอาหารเสริม 500 มก. ทุกวัน สามารถช่วยลดความดันเลือดลงได้
Quercetin (เควอซิทิน) มีอยู่ในอะไรบ้าง ?
(อ้างอิงจาก https://www.prachachat.net/public-relations/news-793908) พบว่าในมะกรูดมีเควอซิทิน 43±9 มิลลิกรัม ต่อมะกรูด 100 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่มากที่สุดเมื่อเทียบกับผักผลไม้อื่น ๆ ในปริมาณที่เท่ากัน แต่ผู้ที่ไม่สามารถดื่มน้ำมะกรูดได้ อาจจะเลือกรับประทานอย่างอื่นได้เช่นกัน แต่อาจจะได้ปริมาณเควอซิทินน้อยกว่าในมะกรูด เช่น
- เอลเดอร์เบอร์รี่ (Elderberries) มีประมาณเควอซิทิน 42 มิลลิกรัม ต่อจำนวน 100 กรัม
- หอมแดง (Elderberries) มีประมาณเควอซิทิน 33 มิลลิกรัม ต่อจำนวน 100 กรัม
- หอมขาว (Elderberries) มีประมาณเควอซิทิน 21 มิลลิกรัม ต่อจำนวน 100 กรัม
- แครนเบอร์รี่ (Elderberries) มีประมาณเควอซิทิน 15 มิลลิกรัม ต่อจำนวน 100 กรัม
- พริกเขียว (Elderberries) มีประมาณเควอซิทิน 15 มิลลิกรัม ต่อจำนวน 100 กรัม
- ผักเคล (Elderberries) มีประมาณเควอซิทิน 7.7 มิลลิกรัม ต่อจำนวน 100 กรัม
- บลูเบอร์รี่ (Elderberries) มีประมาณเควอซิทิน 5.1 มิลลิกรัม ต่อจำนวน 100 กรัม
- แอปเปิ้ล (Elderberries) มีประมาณเควอซิทิน 4.7 มิลลิกรัม ต่อจำนวน 100 กรัม

น้ำมะกรูด กับการทำ IUI / IVF / ICSI
สำหรับคนที่จะต้องทำ IUI หรือ ICSI การบริโภคอาหารที่มีเควอซิทิน (Quercetin) ยังช่วยลดความเครียด ทำให้ผู้หญิงสามารถผลิตฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นรังไข่ได้มากขึ้น รวมทั้ง เควอซิทิน (Quercetin) ยังเพิ่มพลังงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย รวมทั้งเซลล์ไข่ด้วย ทำให้โอกาสพัฒนาในการเป็นตัวอ่อนที่ดีมีมากขึ้น นอกจากนี้ฃยังมี Vitamin C เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ชะลอวัยเซลล์ไข่ได้อีกด้วย
ในการทำ IUI การบริโภคเควอซิทิน (Quercetin) จะช่วยเพิ่มโอกาสปฏิสนธิได้มากแค่ไหนนั้น ก็มีส่วนช่วยเพิ่มพลังงานของเซลล์ มีโอกาสได้เซลล์ตัวอ่อนที่ดีขึ้น รวมทั้งเพิ่มการไหลเวียนเลือดทำให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกมากขึ้น เพิ่มโอกาสการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งเปอร์เซนต์ความสำเร็จอาจจะขึ้นอยู่หลายปัจจัยต้องดูเป็นราย ๆ ไป
สรุป น้ำมะกรูด กินดีไหม ?
จากข้อมูลของงานวิจัย https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25557047 มีการศึกษาในหนู พบว่า Quercetin ช่วยให้มีการผลิตไข่มากขึ้นได้จริง แต่ยังไม่ได้งานวิจัยในคน หากท่านใดที่อยากลองกินดูนั้นก็อาจจะทำได้ แต่ไม่ได้เป็นข้อแนะนำจากแพทย์ เนื่องจากยังไม่ได้มีงานวิจัยมากพอ ในการรองรับว่าน้ำมะกรูดนั้น สามารถช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์มากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
ดังนั้นอาจจะสรุปได้ดังนี้ ในเรื่องของการรับประทานเพื่อหวังผลในการได้รับเควอซิทิน หากรับประทานแล้วรู้สึกว่ามีอาการไม่พึงประสงค์ เช่น แสบท้อง ถ่ายท้อง ไม่ชอบกลิ่นมะกรูดแรง ๆ ไม่ชอบรสชาติของมะกรูด อาจจะต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารอื่น ๆ หรือทำให้รสชาติดีขึ้นได้แทน หรือหากรับประทานไม่ได้จริง ๆ แต่ถ้ายังอยากได้รับเควอซิทิน อาจจะเปลี่ยนจากมะกรูด เป็นการเลือกกินผักและผลไม้ที่มีเควอซิทินแทนก็ได้เช่นกัน หรือจะรับประทานเป็นเควอซิทินสกัดเม็ดแทนก็ได้ แต่ทั้งนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์ชำนาญการเฉพาะทาง จึงจะเป็นแนวทางที่ปลอดภัยมากที่สุดค่ะ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงบางส่วนจาก
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25557047
https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-294/quercetin
https://www.healthline.com/nutrition/quercetin
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- การตกไข่ที่ไม่สุก
- Assisted Hatching ตัวช่วยการฟักตัวของตัวอ่อน
- AMH, Anti-TPO, Anti-TG คืออะไร?
- ไข้หวัดใหญ่ส่งผลต่อการมีบุตรยากจริงไหม
- การใช้ยาหลังการตั้งครรภ์จากการทำเด็กหลอดแก้ว ต่างจากการใช้ยาการตั้งครรภ์ธรรมชาติอย่างไร?
มีข้อสงสัยเพิ่มเติมหรือนัดหมายแพทย์ ติดต่อคลินิก iBaby ได้ที่ช่องทางด้านล่าง
Line: @iBaby หรือ https://lin.ee/xxIlgyJ
Tel: 021688640-43
Email: info@iBabyFertility.com
Website: https://ibabyfertility.com
WeChat: iBaby_Fertility