สาเหตุของผู้หญิงในการมีบุตรยากมีอยู่หลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้
ภาวะภูมิแพ้ตัวเอง
ภาวะภูมิแพ้ตัวเอง เป็นสาเหตุของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายไปทำให้ เนื้อเยื่อปกติถูกการปฏิเสธ ภาวะนี้ เช่น Lupus, Hashimoto’s การอักเสบของต่อมไทรอยด์ และข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาจจะกระทบต่อการมีบุตร หรือ มีบุตรยากได้ สาเหตุที่ภาวะนี้ทำให้มีบุตรยากยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกิดการอักเสบที่มดลูกและรก หรือ ยาที่ใช้รักษา ทั้งชายและหญิงที่มีภูมิต้านทาน (Antibody) จะทำลายอสุจิ และอวัยวะสืบพันธุ์ หรือ การลดโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อน การลดการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่โพรงมดลูกในขณะที่ตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ หรือการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) สำหรับคนที่อยากตั้งครรภ์ อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ที่เกี่ยวกับการมีบุตรยาก และอาจจะต้องได้รับยาบางชนิดก่อนและหลังการรักษา
เนื้องอกมดลูก
เนื้องอกมดลูกส่วนใหญ่เป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้มีอาการในบางรายขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของเนื้องอก นักวิทยาศาสตร์ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดขึ้นของเนื้องอก แต่เชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม และเนื้องอกมดลูกเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะมีบุตรยาก 5 – 10%
เนื้องอกมดลูกที่มีตำแหน่งอยู่ในโพรงมดลูกและมีขนาดมากกว่า 6 เซนติเมตร จะมีแนวโน้มทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก เนื้องอกมดลูกจะมีผลกระทบกับโอกาสในการตั้งครรภ์ เนื่องจากปัจจัยต่อไปนี้
- เปลี่ยนตำแหน่งของปากมดลูก ซึ่งสามารถลดจำนวนของอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก
- ปิดกั้นท่อนำไข่ ซึ่งป้องกันอสุจิไปปฏิสนธิกับไข่ และป้องกันตัวอ่อนเคลื่อนมาฝังตัวที่มดลูก
- รบกวนเลือดมาเลี้ยงมดลูก ซึ่งป้องกันการฝังตัวของตัวอ่อน
ผู้ที่มีบุตรยากและอยากตั้งครรภ์ แล้วตรวจพบว่ามีเนื้องอกมดลูก ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านมีบุตรยาก ซึ่งแพทย์จะพิจารณาทำการผ่าตัดก่อนการรักษา หรือ ก่อนการฉีดเชื้อ หรือ ทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ผู้ที่อยากตั้งครรภ์อาจต้องรอแผลผ่าตัดหายก่อน อย่างน้อย 6 เดือน ก่อนการปล่อยให้มีการตั้งครรภ์
ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด
ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด คือ ภาวะที่รังไข่ไม่ผลิตฮอร์โมนและไข่ในขณะที่ผู้หญิงยังอายุน้อย ผู้หญิงที่มีภาวะนี้จะมีการตกไข่ที่ไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจจะมีระดับของฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่และต่อมใต้สมองผิดปกติ ผู้หญิงที่มีภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด มักจะมีปัญหาการตั้งครรภ์ คือ มีโอกาสในการตั้งครรภ์น้อย ประมาณ 5 – 10% ของผู้หญิงที่มีภาวะนี้จะตั้งครรภ์โดยไม่ได้รับการรักษาใดๆภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด สามารถตรวจได้ด้วยการตรวจระดับฮอร์โมน AMH หรือ การทำอัลตราซาวน์เพื่อดูจำนวนไข่ ซึ่งถ้าพบว่ามีจำนวนไข่น้อยในขณะที่มีอายุน้อย สำหรับคนที่มีบุตรยากแต่ยังไม่พร้อมมีบุตรในช่วงเวลานี้แนะนำให้แช่แข็งไข่ (สำหรับคนที่ยังไม่มีสามี)หรือ ทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ซึ่งขั้นตอนในการแช่แข็งไข่และการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) จะมีขั้นตอนที่ไม่ได้แตกต่างกันมาก แต่ค่าใช้จ่ายในการแช่แข็งไข่อาจจะน้อยกว่าค่าใช้จ่ายในการทำเด็กหลอดแก้วเล็กน้อย
ภาวะไข่ตกยาก
ภาวะไข่ตกยาก เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะมีบุตรยากในฝ่ายหญิง ภาวะนี้เกิดที่รังไข่ หรือ ในบางรายเกิดจากต่อมหมวกไต สร้างฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) หรือ ฮอร์โมนเพศชายมากกว่าปกติ ซึ่งจะกระทบต่อการเจริญเติบโตของไข่และการตกไข่ รวมถึงคุณภาพของไข่ด้วย
ข้อสังเกตของภาวะนี้คือ ประจำเดือนจะมาไม่ปกติ หรือ รอบเดือนห่างมากกว่าปกติ มีน้ำหนักตัวมาก มีลักษณะที่แสดงออกถึงฮอร์โมนเพศชายสูง เช่น หน้ามัน มีสิว มีขนตามใบหน้าแขนขา มากกว่าผู้หญิงโดยทั่วไป การตรวจอัลตราซาวน์อาจจะพบลักษณะที่คล้ายกับถุงน้ำหลายถุงอยู่ในรังไข่ ผู้ที่อยากมีลูกและมีภาวะนี้อาจต้องเตรียมตัวก่อนการตั้งครรภ์ เช่น ลดน้ำหนัก หรือ บางคนต้องได้รับการฉีดเชื้อ หรือ ทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) และอาจจะต้องรับประทานยา Metformin 2-3 เดือนก่อนเริ่มขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)
ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
เยื่อบุโพรงมดลูกเกิดจากเซลล์ที่อยู่บนโพรงมดลูก ซึ่งเซลล์นี้ถ้าเจริญอยู่นอกโพรงมดลูกจะเรียกว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คนที่เป็นมากอาจตรวจพบเป็นถุงน้ำที่รังไข่ หรือเรียกว่า ช็อกโกแลตซีสต์ งานวิจัยพบมีความสัมพันธ์ของภาวะมีบุตรยากและเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การศึกษาแสดงให้เห็นว่า 25 – 50% ของคนที่มีบุตรยากจะมีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ และ 30 – 40% ของผู้หญิงที่มีเยื่อบุ โพรงมดลูกเจริญผิดที่จะมีบุตรยาก
ทฤษฎีในปัจจุบันว่าเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยากได้อย่างไร
- การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ทำให้เกิดพังผืดที่อุ้งเชิงกรานซึ่งเป็นที่อยู่ของรังไข่ ท่อนำไข่ ซึ่งอาจจะรบกวนต่อไข่ที่จะตกเข้าไปในท่อนำไข่ รวมถึงการอุดตันของท่อนำไข่
- เยื่อผนังช่องท้องของผู้มีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อาจจะทำให้เกิดมีน้ำในช่องท้องมากขึ้น ซึ่งน้ำนี้อาจจะมีผลกระทบต่อการ
- ทำงานของไข่ อสุจิ และท่อนำไข่
- การเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่มดลูกอาจจะมีผลต่อความสามารถของตัวอ่อนในการฝังตัวและมีโอกาสแท้งได้ง่ายขึ้น
ผู้มีบุตรยากและมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การรักษาอาจจะต้องดูความรุนแรงของภาวะที่เป็น อาจต้องรับยาบางตัวหรือการผ่าตัดอย่างไรก็ตามต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากเพื่อประเมินแนวทางการรักษา การผ่าตัดอาจมีข้อดีในการลดภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ทำให้มีโอกาสในการตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้น แต่ข้อเสียก็อาจจะทำให้รังไข่มีจำนวนไข่น้อยลงหลังการผ่าตัด หลายคนอาจต้องทำเด็กหลอดแก้ว หรือ ทำ IVF ก่อนการผ่าตัด หรือ ผู้ที่อยากตั้งครรภ์และมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ไม่มาก อาจจะได้รับการผ่าตัดเพื่อให้ตั้งครรภ์โดยธรรมชาติต่อไปได้
ภาวะการฝังตัวของตัวอ่อนล้มเหลว
การฝังตัวของตัวอ่อนล้มเหลวหมายถึง การที่ไข่ที่ถูกปฏิสนธิแล้วไม่สามารถฝังตัวที่ผนังมดลูกได้ โดยทั่วไปมักหาสาเหตุของการไม่ฝังตัวของตัวอ่อนไม่พบ แต่อาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้
- ความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อน
- ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกบาง
- ความผิดปกติของตัวอ่อน หรือ ตัวอ่อนไม่มีคุณภาพ
- ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- การดื้อต่อฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
- เนื้อเยื่อของแผลที่โพรงมดลูก ซึ่งอาจเกิดจากการขูดมูก
ภาวะฝังตัวอ่อนล้มเหลว มักจะพูดถึงในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) แล้วได้ตัวอ่อนที่คุณภาพดีแต่ไม่สามารถฝังตัวได้ แพทย์อาจจะแนะนำให้ทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) เมื่อได้ตัวอ่อนแล้วให้ทำการตรวจคัดกรองพันธุกรรม หรือ โครโมโซมตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (PGT-A) และการตรวจโพรงมดลูก (Hysteroscope) เพื่อดูพังผืด ซึ่งอาจต้องทำการผ่าตัดแก้ไขก่อนการย้ายตัวอ่อน ผู้ที่มีมดลูกบางและอยากตั้งครรภ์ อาจต้องรับยาฮอร์โมนซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลายช่องทาง ทั้งทางรับประทาน สอดช่องคลอด แผ่นแปะหน้าท้อง หรือ ยาทา เพื่อให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น
การตกไข่ที่ไม่สุก
ไข่ที่ไม่สุกจะไม่ตกในเวลาที่เหมาะสม และไม่สามารถเดินทางไปที่ท่อนำไข่ หรือไม่สามารถปฏิสนธิได้ ไข่ที่ไม่สุกอย่างเหมาะสมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ รวมทั้งภาวะไข่ตกยาก (PCOS) ภาวะอ้วน ซึ่งจะไม่มีโปรตีนที่จะทำให้ไข่สุกได้ภาวะนี้อาจจะพูดถึงในระหว่างการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) หลังจากเก็บไข่แล้วพบว่า ไข่ที่เก็บได้ไม่สุกซึ่งโดยทั่วไปถือว่าคุณภาพไม่ดี หลังจากทำเด็กหลอดแก้วแล้วจะมีอัตราการปฏิสนธิที่ไม่ดี นักวิทยาศาสตร์จะมีการทดลองเลี้ยงไข่ให้สุกมากขึ้นด้วยน้ำยาเลี้ยงไข่พิเศษ แต่ถ้ายังไม่ได้ผลดีมากนัก แพทย์ผู้ดูแลภาวะมีบุตรยากอาจจะต้องพิจารณาวิธีการทำเด็กหลอดแก้วเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งจะเป็นการพิจารณาขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้วระหว่างกระตุ้นไข่ด้วยการใช้ยา รวมถึงระยะเวลาในการกระตุ้นไข่ที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีประวัติทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) แล้วได้จำนวนไข่สุกน้อย
การติดเชื้อ
การติดเชื้อสามารถเป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยากในทั้งฝ่ายชายและหญิง
การติดเชื้อหนองใน (Gonorrhea) และคลาไมเดีย (Chlamydia) สามารถนำไปสู่การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดแผล และท่อนำไข่อุดตัน ส่วนการติดเชื้อซิฟิลิส (Syphilis) จะเพิ่มความเสี่ยงของการตั้งครรภ์และการตายคลอด
การติดเชื้อเรื้อรังที่ปากมดลูกและการผ่าตัดปากมดลูกอันเนื่องมาจากการติดเชื้อเฮชพีวี (HPV) สามารถลดปริมาณและคุณภาพของมูกบริเวณปากมดลูกและช่องคลอดซึ่งจำเป็นต่อการเดินทางของเชื้ออสุจิ ทำให้ตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อในสหรัฐอเมริกา แนะนำให้ผู้ชายและผู้หญิงอายุ 11 หรือ 12 ปี ควรได้รับวัคซีน HPV หรือถ้ายังไม่ได้รับวัคซีนก็แนะนำให้ให้ฉีดในอายุไม่เกิน 25 ปี
ผู้มีบุตรยากและอยากตั้งครรภ์ แต่มีภาวะติดเชื้อบางชนิดอาจจะต้องทำการรักษาการติดเชื้อให้หายก่อนเริ่มทำการรักษา ผู้ที่มีการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานก็มีความสัมพันธ์กับพังผืดในอุ้งเชิงกรานและท่อนำไข่อุดตัน ซึ่งอาจไม่สามารถตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ หรือ การฉีดเชื้อได้ และอาจจะต้องพิจารณาถึงวิธีทำเด็กหลอดแก้วหรือทำ IVF
ปัญหาที่เกี่ยวกับโครงสร้างของอวัยวะสืบพันธุ์
ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของอวัยะสืบพันธุ์มักจะเกิดที่ท่อนำไข่และมดลูก ถ้าท่อนำไข่อุดตัน ไข่ก็ไม่สามารถเคลื่อนย้ายจากรังไข่ไปที่มดลูกได้ และอสุจิไม่สามารถปฏิสนธิกับไข่ได้ ปัญหาโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับมดลูกจะรบกวนการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งทั้งท่อนำไข่และมดลูกที่มีปัญหาก็เป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของอวัยวะสืบพันธุ์ที่ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ได้แก่
- ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เมื่อเนื้อเยื่อของโพรงมดลูกที่ปกติจะอยู่ภายในมดลูก แต่ออกมาเจริญอยู่นอกโพรงมดลูกจะเรียกว่าภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- เนื้องอกมดลูก เป็นเนื้องอกที่อยู่บริเวณกล้ามเนื้อมดลูก แม้ว่าส่วนใหญ่ของผู้หญิงที่มีเนื้องอกมดลูกไม่ได้มีปัญหาเรื่องมีบุตรยาก
- แต่ผู้หญิงบางส่วนที่มีเนื้องอกชนิดนี้จะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ แท้งง่าย และคลอดก่อนกำหนด
- ติ่งเนื้อบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก จะรบกวนต่อการทำงานของมดลูก และทำให้เกิดการแท้งได้ง่าย การทำผ่าตัดติ่งเนื้อออกทำให้
- โอกาสในการตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้น
- แผลบริเวณมดลูกจากการบาดเจ็บ การติดเชื้อ หรือ การผ่าตัด แผลนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งและอาจจะรบกวนต่อ
- การฝังตัวของมดลูกและทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก
- รูปร่างของมดลูกที่ผิดปกติ สามารถรบกวนการฝังตัวของตัวอ่อนและความสามารถในการตั้งครรภ์จนครบกำหนดได้
ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของอวัยะสืบพันธุ์ส่วนใหญ่ต้องใช้วิธีการผ่าตัดในการรักษา ผู้มีบุตรยากและอยากตั้งครรภ์ หลังการผ่าตัดอาจมีโอกาสตั้งครรภ์โดยธรรมชาติได้ หรือบางภาวะที่ทำให้มีการอุดตันของท่อนำไข่ก่อนหรือหลังการผ่าตัด อาจจะต้องเข้าสู่ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้วต่อไป ผู้ที่มีบุตรยาก อยากตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านภาวะมีบุตรยากให้เข้าใจถึงข้อดีและความเสี่ยงก่อนการผ่าตัด
ปัญหาของรอบประจำเดือน
ปัญหาของรอบประจำเดือน เป็นกระบวนการเตรียมให้ร่างกาย และมดลูกให้พร้อมต่อการตั้งครรภ์ แต่ละระยะของรอบประจำเดือนที่มีปัญหาก็จะนำไปสู่ภาวะมีบุตรยากได้ ปัญหารอบประจำเดือนอาจจะเกี่ยวข้องกับบางโรค ผู้ที่รอบประจำเดือนห่างกว่าปกติส่วนใหญ่จะพูดถึงเกินกว่า 35 วัน อาจจะเกี่ยวข้องกับโรค PCOS, Hyperprolactinemia หรือ Hyper/Hyperthyroid ซึ่งต้องได้รับการรักษาก่อนขั้นตอนการรักษาเพื่อการมีบุตร
ผู้ที่มีประจำเดือนมามากหรือจำนวนวันมากกว่าปกติ มีความสัมพันธ์กับเนื้องอกมดลูก ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก ซึ่งอาจจะต้องทำการผ่าตัดหลังการรักษาภาวะเหล่านี้แล้วจึงสามารถตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ หรือทำการฉีดเชื้อ (IUI) หรือทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)
ผู้ที่อยากตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ทางด้านภาวะมีบุตรยากก่อนการรักษา เพื่อวางแผนการรักษาการมีบุตรในระยะต่อไป
การตกไข่ล้มเหลว
สาเหตุที่เจอบ่อยที่สุดของภาวะมีบุตรยากจากฝ่ายหญิง คือ การที่ไม่มีการตกไข่ ซึ่งเกิดได้ 40% ของผู้มีบุตรยากที่มีสาเหตุจากฝ่ายหญิง การที่ไข่ไม่ตกอาจมาจากหลายสาเหตุ ได้แก่
- รังไข่และอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น ภาวะการทำงานรังไข่ไม่เพียงพอ หรือ ภาวะไข่ตกยาก
- อายุ รวมถึงการลดลงของจำนวนไข่ ซึ่งจำนวนไข่ที่มีอยู่ในแต่ละรอบจะลดลงตามอายุของฝ่ายหญิง
- ภาวะการทำงานของต่อมไร้ท่อผิดปกติ เช่น โรคไทรอยด์ หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับต่อมใต้สมอง ซึ่งมีผลทำให้มีการผลิตฮอร์โมนมาก หรือ น้อยกว่าปกติ
- วิถีการดำรงชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น ภาวะเครียด นอนไม่หลับ สิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษ สารเคมี
การตกไข่ล้มเหลวอาจต้องได้รับการกระตุ้นไข่และการใช้ยาเร่งให้ไข่ตก และตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ หรือ การฉีดเชื้อ (IUI) หรือ อาจต้องทำเด็กหลอดแก้ว หรือ ทำ IVF ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุของภาวะที่เป็น อาจจะต้องปรึกษาแทพย์ทางด้านภาวะมีบุตรยากก่อนการรักษา เพื่อแนะนำวิธีที่เหมาะสมต่อไป