การตรวจร่างกาย
คือสิ่งที่หลาย ๆ คนทำอยู่แล้วเป็นประจำทุกปี แต่รู้ไหมว่าการตรวจร่างกายทั่วไปนั้น ไม่เหมือนกับการตรวจร่างกายเพื่อเตรียมพร้อมในการทำ IVF / ICSI แต่จะแตกต่างกันอย่างไรนั้น มาดูกันค่ะ
1. การตรวจอัลตราซาวด์
หลายท่านคงคุ้นเคยการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อตรวจภายในหรือตรวจเพื่อดูทารกในครรภ์ แต่การอัลตราซาวด์ก่อนเริ่มกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วหรือ IVF / ICSI นั้น จะเป็นการตรวจเพื่อดูความผิดปกติบริเวณรังไข่และมดลูก เช่น การหาก้อนซีสต์ที่รังไข่ หรือเนื้องอกที่มดลูก ว่ามีหรือไม่ ถ้ามี มีขนาดเล็กหรือใหญ่แค่ไหน และอยู่ในตำแหน่งที่อันตรายหรือไม่ ซึ่งบางกรณีอาจจะต้องรักษาก่อนเริ่มกระบวนการทำ IVF / ICSI
2. การตรวจฮอร์โมน
ฮอร์โมนเอสตราไดออล (Estradiol) หรือฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งจะต้องตรวจในวันที่ 2 ของช่วงที่เป็นประจำเดือน
ฮอร์โมน FSH (Follicular Stimulating Hormone) และ LH (Lateinizing Hormone) เพื่อดูแนวโน้มในขั้นตอนของกระบวนการกระตุ้นไข่ เพื่อคำนวนขนาดยาที่เหมาะสมในการใช้
ฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) เนื่องจากระดับของฮอร์โมนโปรแลคตินที่สูงเกินไป อาจจะกระทบโดยตรงต่อขั้นตอนการกระตุ้นไข่ จึงจำเป็นจะต้องตรวจก่อนการกระตุ้นไข่เช่นเดียวกัน
ฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย เช่นเดียวกับระดับของฮอรโมนโปรแลคติน ระดับของฮอร์โมนที่ต่ำหรือสูงเกินไป อาจจะกระทบโดยตรงต่อขั้นตอนการกระตุ้นไข่ได้
ฮอร์โมนแอนตี้มูลเลอเรียน AMH (Anti-Mullerian Hormone) เพื่อตรวจดูปริมาณของไข่ที่ตกในแต่ละเดือน เช่น หากฮอร์โมน AMH อยู่ในระดับที่สูงพอสมควร แต่ไม่สูงมากเกินไป ก็มีแนวโน้มว่าจะมีไข่ที่ตกปริมาณมากและคุณภาพที่ดี
3. ตรวจโรคติดเชื้อ
เช่น เชื้อเอชไอวี (HIV) เชื้อซิฟิลิส (VDRL) เชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg) เนื่องจากโรคติดเชื้ออาจส่งผลต่อจำนวน การเคลื่อนไหว และคุณภาพของสเปิร์ม และส่งผลต่อไปให้คุณภาพของตัวอ่อนลดลงได้อีกด้วย
ในระยะยาวหากมีการติดเชื้อบ่อย ๆ อาจส่งผลทำให้ท่อนำเชื้ออสุจิมีการอุดตันได้ ซึ่งทำให้การหลั่งในแต่ละครั้ง ไม่มีตัวอสุจิออกมา ทำให้ส่งผลโดยตรงต่อการเก็บสเปิร์มเพื่อนำไปใช้ในการทำเด็กหลอดแก้ว ทำให้ไม่สามารถเก็บเสปิร์มโดยวิธีทั่วไป แต่อาจจะต้องใช้การเจาะสเปิร์มหรือการผ่าตัดลูกอัณฑะเพื่อเอาเสปิร์มออกมาแทน
สามารถรับชมคลิปวิดีโอ
ตรวจอะไรบ้าง ก่อนทำ IVF/ICSI
ร้ายแรงแค่ไหน? ถ้าผู้ชายติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ขณะรักษามีบุตรยาก