ท้องนอกมดลูก คือ การตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ จากการที่ตัวอ่อนมีการฝังตัวที่ท่อนำไข่ แทนการฝังตัวที่มดลูก ซึ่งในการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติจะต้องมีการตกไข่และมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเชื้ออสุจิจะเข้าสู่โพรงมดลูกแล้วไปเจอกับไข่ที่บริเวณท่อนำไข่ และจะมีการปฏิสนธิกันบริเวณนั้น ตัวอ่อนจะเดินทางมาฝังตัวที่มดลูกต่อไป หากตั้งครรภ์นอกมดลูกจะไม่สามารถตั้งครรภ์ต่อไปจนกระทั่งคลอดได้ เนื่องจากอาจมีอันตรายต่อร่างกาย ต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน
เสี่ยงแค่ไหน
อัตราความเสี่ยง ในสหราชอาณาจักร จะมีการท้องนอกมดลูก 1 ครั้ง ในทุก 90 การตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือประมาณ 11,000 ครั้งต่อปี : ข้อมูลจาก NHS และในข้อมูลจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย จะมีการตั้งครรภ์นอกมดลูกประมาณ ร้อยละ 95 เกิดขึ้นที่ท่อนำไข่ นอกจากนั้นอาจพบได้ที่รังไข่ ปากมดลูก และในช่องท้อง อุบัติการ พบประมาณร้อยละ 0.5-0.75 หรือประมาณ 1 : 125 ถึง 1 : 200 ของการคลอดทั้งหมดแต่ในช่วง 10 ปีหลัง พบอุบัติการการตั้งครรภ์นอกมดลูกเพิ่มขึ้น 3 เท่า และเป็นสาเหตุทำให้มารดาเสียชีวิตเป็นอันดับที่ 4 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด แต่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุดของการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก
ความเสี่ยงในการทำเด็กหลอดแก้ว
การทำเด็กหลอดแก้วคือการเอาไข่กับอสุจิมาปฏิสนธินอกร่างกายเป็นตัวอ่อน แล้วนำตัวอ่อนฝังกลับเข้าไปในโพรงมดลูก ซึ่งไม่ได้ผ่านท่อนำไข่ ก็ไม่น่ามีการฝังตัวที่ท่อนำไข่ได้ แต่จริง ๆ แล้ว มีส่วนหนึ่งของการย้ายตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูก แล้วมีการเคลื่อนตัวของตัวอ่อนย้อนเข้าสู่ท่อนำไข่ กลายเป็นท้องนอกมดลูกได้เช่นเดียวกัน แต่โอกาสเกิดแค่ 1 % เท่านั้น
อาการ
ในสัปดาห์ที่ 4 – 12 ของการตั้งครรภ์ จะมีอาการ
- ปวดท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็น ๆ หาย ๆ หรือ ปวดตลอดเวลาก็ได้
- มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือมีตกขาวสีน้ำตาล
- ปวดที่ปลายไหล่
- ปัสสาวะหรืออุจจาระติดขัด
สาเหตุ
- ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease: PID) หมายถึงการอักเสบของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง มักเกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI)
- เคยมีการตั้งครรภ์นอกมดลูกมาก่อน จะมีความเสี่ยงตั้งครรภ์นอกมดลูกเพิ่มขึ้นประมาณ 10%
- เคยมีการผ่าตัดท่อนำไข่มาก่อน เช่น การทำหมันหญิงไม่สำเร็จ
- ตั้งครรภ์ขณะใส่ห่วงอนามัย หรือ ห่วงคุมกำเนิด (Intrauterine Device : IUD)
- สูบบุหรี่
- อายุที่เพิ่มขึ้น ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อายุ 35 ถึง 40 จะมีความเสี่ยงสูงที่สุด
เคยตั้งครรภ์นอกมดลูกมาแล้ว สามารถตั้งครรภ์ปกติได้ไหม
ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ตั้งครรภ์นอกมดลูกจะสามารถตั้งครรภ์ได้อีกครั้ง แม้ว่าจะตัดท่อนำไข่ออกแล้วก็ตาม โดยรวมแล้ว 65% ของผู้หญิงประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ภายใน 18 เดือน หลังจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก ซึ่งในบางคร้งอาจจำเป็นต้องใช้การรักษาภาวะเจริญพันธุ์ เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI) เนื่องจากหากตั้งครรภ์ธรรมชาติโอกาสที่จะตั้งครรภ์นอกมดลูกซ้ำสูงขึ้น
- ฮอร์โมนเอสโตรเจน คืออะไร
- ฮอร์โมน P4 หรือโปรเจสเตอโรน สำคัญอย่างไร
- มะเร็งเต้านม ไม่เลือกเพศ
- กินเจระหว่างตั้งครรภ์
- ค่า hCG คืออะไร?
มีข้อสงสัยเพิ่มเติมหรือนัดหมายแพทย์ ติดต่อคลินิก iBaby ได้ที่ช่องทางด้านล่าง
Line: @iBaby หรือ https://lin.ee/xxIlgyJ
Tel: 021688640-43
Email: info@iBabyFertility.com
Website: https://ibabyfertility.com
WeChat: iBaby_Fertility