แท้ง แต่ละทีเสียน้ำตาทุกที โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นอีกคน ที่กว่าจะท้องได้ เลือดตาแทบกระเด็น เสียไปหลายแสน แต่ก็ยังไม่สำเร็จ สาเหตุมาจากอะไรกันนะ หรือคุณเป็นคนนึงที่ไม่ได้มีปัญหามีบุตรยาก สามารถตั้งครรภ์เองตามธรรมชาติได้ แต่ท้องทีไรก็หลุดทุกที โดยไม่ได้มีพฤติกรรมเสี่ยง อาจจะเคยตรวจหรือตรวจไม่พบสาเหตุ อาจจะเป็นไปได้ว่าเป็นเพราะสาเหตุเหล่านี้
เพราะ … โครโมโซมตัวอ่อนผิดปกติ
เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงหลายๆ คน ท้อใจในการพยายามมีลูก แต่จะไม่สามารถตรวจพบได้เลยว่า โครโมโซมของตัวอ่อนผิดปกติหรือไม่ หากทำเด็กหลอดแก้วแล้วแต่ไม่ได้มีการตรวจคัดกรองตัวอ่อนก่อนการย้ายตัวอ่อน หรือการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ ก็ไม่สามารถตรวจความผิดปกติของโครโมโซมได้เช่นกัน
Promotion Update ล่าสุด
เพราะ … มดลูกผิดปกติ
ภาวะที่มีผนังกั้นในมดลูก มีพังผืดในโพรงมดลูก และมดลูกบาง โดยจะตรวจพบด้วยการส่องกล้อง
เพราะ … เป็น APS
หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้การตั้งครรภ์ไม่ประสบความสำเร็จ คือการเป็นโรค APS หรือ Antiphospholipid Syndrome เป็นโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ที่เดิมจะคุ้มกันร่างกายจากอันตรายภายนอก แต่เมื่อเป็นโรคนี้ จะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายกลับมาทำลายตนเอง โรค APS 75-90% จะเป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้โรค APS ยังคิดเป็น 15% ของสาเหตุทั้งหมดของการแท้งซ้ำซ้อน โดยผู่ป่วยครึ่งหนึ่งมักจะหลุดไปในช่วงไตรมาสแรก
แม้สาเหตุจะไม่แน่ชัด แต่คาดว่ามาจากการที่เลือดไม่เดินทางไปเลี้ยงรก นอกจากนั้นการเป็น APS ยังส่งผลทำให้เกิดภาวะต่าง ๆ เช่น การอุดตันการไหลเวียนของเลือด ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดลิ่มเลือด เป็นโรคหลอดเลือดสมอง และหัวใจวายได้ หากไม่ได้รับการรักษา
เพราะ … ฮอร์โมน
ระดับฮอร์โมนที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไป คือสาเหตุ
- ฮอร์โมนไทรอยด์ที่สูงเกินไป จะทำให้ทารกในครรภ์มีชีพจรที่เต้นเร็วผิดปกติ ตัวเล็กกว่าปกติ และฮอร์โมนไทรอยด์ที่ต่ำเกินไป จะทำให้พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ทำงานผิดปกติ เนื่องจากระดับฮอร์โมนส่งผลต่อระบบประสาท และสำหรับตัวของแม่ที่ตั้งครรภ์นั้น อาจจะทำให้เกิดภาวะซีด หัวใจล้มเหลว ครรภ์เป็นพิษ ทำให้หลุดได้นั่นเอง
- ฮอร์โมนโปรแลคตินที่สูงเกินไป ส่วนใหญ่จะทำให้ไข่ตกไม่ปกติหรือไม่ตกเลย ซึ่งส่งผลทำให้ประจำเดือนผิดปกติไปด้วย ทำให้เกิดภาวะมีลูกยากไปด้วย
Promotion Update ล่าสุด
หลุดบ่อย ต้องทำยังไง
สิ่งที่ควรทำคือ การตรวจเพื่อพบแพทย์เฉพาะทางก่อนการตัดสินใจตั้งครรภ์ในครั้ง หากมีความผิดปกติบางอย่างที่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาหรือผ่าตัด ก็เป็นวิธีแก้ไขที่จะทำให้ท้องต่อไปของคุณเป็นการตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จ
รับชมบทความแบบคลิปวิดีโอ
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก verywellfamily
บทความที่น่าสนใจ
- เพราะอะไร? โรคคางทูมถึงส่งผลต่อสเปิร์ม
- ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน กับ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ต่างกันอย่างไร
- ฮอร์โมนเอสโตรเจน คืออะไร
- ฮอร์โมน P4 หรือโปรเจสเตอโรน สำคัญอย่างไร
- มะเร็งเต้านม ไม่เลือกเพศ
มีข้อสงสัยเพิ่มเติมหรือนัดหมายแพทย์ ติดต่อคลินิก iBaby ได้ที่ช่องทางด้านล่าง
Line: @iBaby หรือ https://lin.ee/xxIlgyJ
Tel: 021688640-43
Email: info@iBabyFertility.com
Website: https://ibabyfertility.com
WeChat: iBaby_Fertility