บทความโดย
นพ.จิรัฏฐ์ วิเชียรพิทยา
แพทย์เฉพาะทางด้านมีบุตรยากและผ่าตัดส่องกล้อง
ในสังคมเราการเรียนรู้เรื่องเพศ (Sex Education) มักจะอยู่แค่ในห้องเรียน แต่ความเป็นจริงแล้วอาจจะยังไม่เพียงพอ เราจำเป็นต้องรู้จักมันมากขึ้น สังคมโบราณเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ไม่นานผู้หลักผู้ใหญ่ก็จัดให้มีการสมรสสร้างครอบครัวกำเนิดลูกหลาน ซึ่งเป็นการเรียนรู้เรื่องเพศจากชีวิตจริง ในขณะเดียวกันวิวัฒนาการทางสังคมทำให้อาชีพพิเศษได้รับการยอมรับขึ้นมา เรียกว่า โสเภณี สตรีอาชีพเหล่านี้ได้รับการอบรมต่อ ๆ กันมา ในการดูแลปรนนิบัติเพื่อให้ชายชาตรีเกิดมีความสุข จึงนับเป็นการเรียนรู้เรื่องเพศอีกแบบหนึ่ง
Promotion Update
รู้จักและเข้าใจ อวัยวะ(เพศ)
นอกจากความรู้ในห้องเรียน วิวัฒนาการด้านสิ่งพิมพ์ การผลิตของเล่น และวีดิทัศน์จึงให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ อย่างไรก็ตามทำได้เพียงสัมผัสแค่อวัยวะเพศภายนอก (External Genital Organs) ที่เป็นโครงสร้าง (Structures) การเรียนรู้ที่ถูกจำกัดทำให้ไม่สามารถเติมเต็มความเข้าใจได้ทั้งหมด
ความเข้าใจในกลไกการทำงาน (Functions) ของอวัยวะ และกายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) อื่น ๆ ที่ซ่อนอยู่ภายในนั้น หากทำความรู้จักและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เมื่อเกิดปัญหาอะไรขึ้นกับมันก็จะทำให้เราจัดการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ความเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่งย่อมเป็นไปตามอายุที่มากขึ้น ความผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น การอักเสบติดเชื้อ การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ โรคที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะเพศ การตั้งครรภ์ การแท้งบุตร ท้องนอกมดลูก และอื่น ๆ ล้วนเกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางกายและใจ
อวัยวะ (เพศ)
อวัยวะ (Organs) ที่ได้รับการปกปิดมากที่สุดแม้ในยามปกติไม่เจ็บไม่ไข้ ปกปิดด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์กันมาตั้งแต่เล็กจนเติบใหญ่ ตราบจนแม้กระทั่งเวลาสุดท้ายของชีวิต จะเปิดเผยก็เพียงเวลาชำระร่างกาย เวลาต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษาโรค นั่นคืออวัยวะเพศ (Genital Organs) ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะอวัยวะเพศสตรีส่วนล่าง ใต้ระดับสะดือลงไป และเป็นอวัยวะในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ตั้งแต่เริ่มมีรอบระดูอายุ 12 ปี จนเข้าสู่วัยหมดระดู ซึ่งอายุประมาณ 50 ปี ในที่นี้ไม่รวมถึง เต้านม ซึ่งบางคนนับเป็นอวัยวะเพศ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงตามฮอร์โมนเพศ
Promotion Update
หน้าที่ (Functions) ของอวัยวะ (เพศหญิง)
อวัยวะเพศ ของสตรีที่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก หน้าที่หลัก ๆ เป็นไปเพื่อการปกป้องอสุจิให้หลบอยู่ด้านใน เพื่อรอคอยการเจริญพันธุ์ โครงสร้างหลัก ๆ ได้แก่
แคมใหญ่ (Labia Majora) คอยปกปิด และ ปกป้องอวัยวะเพศอื่น ๆ ที่อยู่ข้างใน เมื่อเข้าวัยสาว เริ่มมี ขนเพศ ขนเพชร และมีต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน อยู่บริเวณนี้ เมื่อมีอารมณ์ทางเพศจะโหนกนูนขึ้นมา
แคมเล็ก (Labia Minora) อยู่ติดกัน โดยถัดเข้าไป คอยปกปิดช่องคลอดและท่อปัสสาวะ เยื่อบุแคมเล็กมีลักษณะอ่อนไหว ระคายเคืองและบวมได้ง่าย
ต่อมเมือกบาร์โธลิน (Bartholin’s Gland) อยู่ลึกลงไป ใต้ต่อแคมเล็ก รูเปิดอยู่ที่สองข้าง ระบายน้ำเมือกซึ่งมีหน้าที่หล่อลื่นและสร้างความชุ่มชื้น ต่อมนี้มีหน้าที่สร้างและหลั่งน้ำเมือกออกมาเวลามีอารมณ์ทางเพศ ปกติคลำไม่เจอ ยกเว้นมีการอุดตันท่อระบายทำให้เกิดเป็นถุงน้ำ หรือ ซีสต์ (Bartholin’s Cyst) หากมีเชื้อโรคเข้าไปในถุงน้ำก็จะเกิดการอักเสบติดเชื้อ กลายเป็นฝีหนองได้ อาการของการอักเสบ (Abscess) สังเกตไม่ยาก คลำพบเม็ดหรือก้อน ขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ปวดมากขึ้น บวมแดง และอาจจะมีหนองไหลออกมา
คลิตอริส (Clitoris) อยู่จุดบรรจบกันด้านบนของแคมเล็ก ยื่นออกมาเป็นปุ่มนูน มีความบอบบางและอ่อนไหวต่อสัมผัส เมื่อถูกกระตุ้นแล้วแข็งตัว ตั้งชันขึ้นมาได้ อวัยวะนี้สามารถเทียบได้กับองคชาติของเพศชาย
พรีพิวส์ (Prepuces) ด้านเหนือคลิตอริส มีผิวหนังคลุมอยู่ ลักษณะเหมือนฮู้ด (Hood) เสื้อกันหนาว เรียกอวัยวะนี้ว่าว่า พรีพิวส์ (Prepuces) ทำหน้าที่ปกป้องคลิสตอริส นอกจากนี้ยังมีบทบาทรับรู้การสัมผัส กระตุ้นความต้องการทางเพศ นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน เพศชายก็มีพรีพิวส์คอยปกคลุมปลายองคชาติอยู่เช่นเดียวกัน
ช่องคลอด (Vagina) ซึ่งอยู่ถัดเข้าไป เชื่อมกับปากมดลูก ผนังช่องคลอดปกติแนบติดกัน แต่ขณะมีเพศสัมพันธ์หรือคลอดบุตรธรรมชาติ ช่องคลอดสามารถยืดหยุ่นและขยายได้มาก อวัยวะนี้ไม่มีต่อมเมือก ไม่มีปลายประสาทรับความรู้สึกใด ๆ สารคัดหลั่ง (Secretion) ที่ออกมาจากผนังช่องคลอดเกิดจากการคั่งของเส้นเลือดฝอยรอบ ๆ สารน้ำในระบบไหลเวียนเลือด จึงซึมผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์เยื่อบุออกมาได้
มดลูก (Uterus) เป็นตำแหน่งที่ตั้งครรภ์ ซึ่งมาจากการที่ตัวอ่อนฝังตัวลงไปในเยื่อโพรงมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกนี้เองหากมีการตกไข่สม่ำเสมอและยังไม่ตั้งครรภ์ก็จะมีรอบระดูมา
ปากมดลูก (Cervix) เป็นด่านคัดอสุจิ เป็นทางผ่านอสุจิ เข้าไปในโพรงมดลูด ในขณะเดียวกันก็เป็นทางผ่านไหลออกของเลือดระดู
Promotion Update
รังไข่ (Ovary) โยงออกมาจากสองข้างของมดลูก โครงสร้างเป็นลักษณะเกือบแบน สร้างฮอร์โมน และ ตกไข่ (Ovulation) ซึ่งหมายถึงการปลดปล่อยเซลล์ไข่จากรังไข่
ท่อนำไข่ หรือ หลอดมดลูก (Uterine tube) มีลักษณะหลอด ช่องภายในแคบ ๆ เชื่อมมาจากสองฝั่งของโพรงมดลูกเพื่อยื่นออกไปยังรังไข่ทั้งสอง เป็นทางลำเลียงเซลล์ไข่เข้าสู่โพรงมดลูก และ อสุจิจากโพรงมดลูกไปหาเซลล์ไข่ เป็นตำแหน่งที่เกิดการปฏิสนธิตามธรรมชาติ เมื่อปฏิสนธิแล้ว จึงขนส่งตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อฝังตัวในเยื่อบุ และตั้งครรภ์ต่อไป
คอปัส ลูเตียม (Corpus luteum) หลังตกไข่ไปแล้ว ฟองไข่ก็จะผลิตโปรเจสเตอโรนซึ่งจะไปมีผลดีต่อมดลูก เปลี่ยนสภาพเยื่อบุโพรงมดลูกให้เหมาะสมกับการฝังตัวอ่อน ถ้ารอบระดูนั้นเกิดปฏิสนธิและตั้งครรภ์ขึ้น ฮอร์โมนของการตั้งครรภ์จะส่งสัญญาณไปบอก Corpus luteum ให้คงสภาพอยู่ ทำให้ยืดอายุของคอปัส ลูเตียม และเพิ่มการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสโตอโรนเพื่อพยุงการตัวอ่อนในครรภ์ให้เติบโตต่อไป
เมื่อไม่มีการปฏิสนธิวงจรนี้ก็สิ้นสุดลง โดยเยื่อบุโพรงมดลูกจะหยุดการเจริญเติบโตและหลุดลอกออกมาเป็นเลือด ซึ่งเรียกว่า ระดู ประจำเดือน หรือ เมนส์ (Menstrual Blood)
ทางการแพทย์ยังมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องและลงลึกไปกว่านี้ ไม่ว่าจะเป็น วงจรการตอบสนองทางเพศ ซึ่งเกี่ยวข้องเป็นกระบวนการหนึ่งของการเจริญพันธุ์ นอกจากนี้ ยังมีหัวเรื่องที่สำคัญ ๆ อีก เช่น การคุมกำเนิด การวางแผนครอบครัว การเตรียมความพร้อมก่อนการมีบุตร การรักษาผู้มีบุตรยาก การเข้าสู่วัยหมดระดู จะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อไป
ผู้เรียบเรียง : การนำเสนอบทความนี้เป็นไปเพื่อให้ความรู้กับบุคคลทั่วไป
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : thewomen และ myclevelandclinic
Promotion Update
บทความที่น่าสนใจ
- กินเจระหว่างตั้งครรภ์
- ค่า hCG คืออะไร?
- ธาลัสซีเมีย โรคร้ายทางพันธุกรรม
- เลือกสเปิร์มที่ดีด้วย เทคนิค “PICSI”
- Daddy Blues ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (คุณพ่อ)
มีข้อสงสัยเพิ่มเติมหรือนัดหมายแพทย์ ติดต่อคลินิก iBaby ได้ที่ช่องทางด้านล่าง
Line: @iBaby หรือ https://lin.ee/xxIlgyJ
Tel: 021688640-43
Email: info@iBabyFertility.com
Website: https://ibabyfertility.com
WeChat: iBaby_Fertility