ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF/ICSI)
การทำเด็กหลอดแก้ว IVF/ICSI เหมาะสำหรับผู้ที่มีบุตรยาก หรือมีลูกยาก
ซึ่งข้อดีของวิธีนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์มากขึ้นด้วยวิธีการปฏิสนธินอกร่างกาย หรือในหลอดทดลอง
ขั้นตอนที่ 1 : การกระตุ้นไข่
ยากระตุ้นไข่เพื่อให้รังไข่ผลิตไข่ให้มากขึ้น ปกติแล้วในรอบธรรมชาติรังไข่จะผลิตไข่ 1 ใบต่อรอบเดือน แต่เมื่อได้ยากระตุ้นไข่รัง ไข่จะผลิตไข่ได้หลายใบในหนึ่งรองเดือน ระหว่างการกระตุ้นไข่ฝ่ายหญิงจะได้รับการตรวจอัลตราซาวน์ และตรวจเลือดฮอร์โมน 3-4 ครั้งใน 8-14 วันของการกระตุ้นไข่ (โดยเฉลี่ย 10-11 วัน)
การกระตุ้นไข่ใช้เพื่อให้ได้ไข่สุกหลายใบโดยเฉลี่ยประมาณ 10-20 ใบที่เก็บออกมาได้ อย่างไรก็ตามไม่ใช่ไข่ที่เก็บมาได้ทั้งหมด สามารถใช้ได้ แต่จะมีประมาณ 2 ใน 3 ที่สุกพอดีที่จะนำมาใช้ เมื่ออัลตราซาวน์พบจำนวนถุงไข่ร่วมกับระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เหมาะสม คนไข้จะได้รับการฉีดยาให้ไข่ตก หลังจากนั้นจะทำการเก็บไข่ประมาณ 36 ชั่วโมงหลังฉีดยาให้ไข่ตก
การกระตุ้นไข่ใช้เพื่อให้ได้ไข่สุกหลายใบโดยเฉลี่ยประมาณ 10-20 ใบที่เก็บออกมาได้ อย่างไรก็ตามไม่ใช่ไข่ที่เก็บมาได้ทั้งหมด สามารถใช้ได้ แต่จะมีประมาณ 2 ใน 3 ที่สุกพอดีที่จะนำมาใช้ เมื่ออัลตราซาวน์พบจำนวนถุงไข่ร่วมกับระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เหมาะสม คนไข้จะได้รับการฉีดยาให้ไข่ตก หลังจากนั้นจะทำการเก็บไข่ประมาณ 36 ชั่วโมงหลังฉีดยาให้ไข่ตก
ขั้นตอนที่ 2 : การเก็บไข่
การเก็บไข่หรือการนำไข่ออกจากร่างกายของฝ่ายหญิง เป็นการทำผ่าตัดเล็กและไม่ต้องนอนโรงพยาบาล คนไข้จะได้รับยาแก้ปวดและยานอนหลับระหว่างการเก็บไข่ โดยใช้อัลตราซาวน์และใช้เข็มเก็บไข่แทงผ่านช่องคลอดเข้าสู่รังไข่ซึ่งมีถุงไข่ที่มีไข่กับน้ำหล่อเลี้ยงไข่อยู่ข้างใน เข็มเก็บไข่ที่ต่อกับเครื่องดูดจะดูดไข่พร้อมน้ำหล่อเลี้ยงไข่ออกมาทีละใบจนครบทุกใบ คนไข้อาจจะมีอาการปวดท้องหลังจากการเก็บไข่ แต่จะดีขึ้นภายใน 1 วันหลังจากนั้น
ขั้นตอนที่ 3 : การเก็บเชื้ออสุจิ
น้ำเชื้ออสุจิจะถูกเก็บเองโดยฝ่ายชายนำเชื้อออกมาแล้วใส่ลงในกระปุกปลอดเชื้อที่คลินิกเตรียมไว้ให้ โดยเก็บในสถานที่ห้องส่วนตัวที่อยู่ในคลินิก ถ้าเก็บเองไม่ได้อาจจะต้องให้ภรรยาช่วยเก็บในห้องส่วนตัวร่วมด้วย หรือบางคนเก็บในห้องไม่ได้อาจจะต้องเก็บจากที่บ้านหรือโรงแรมแล้วนำเอาอสุจิมาภายในครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงโดยไม่ต้องแช่แข็งหรือประคบอุ่นใดๆ
คลินิกจะต้องเตรียมเชื้ออสุจิหลังเก็บมาได้ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงก่อนการผสมกับไข่ เพื่อให้เวลาเชื้ออสุจิละลายและเตรียม คัดเชื้ออสุจิ
ในกรณีที่ไม่มีเชื้ออสุจิหรือมีจำนวนและคุณภาพที่ไม่ดี ฝ่ายชายอาจจะต้องได้รับการทำผ่าตัดเอาเชื้ออสุจิออกมา
คลินิกจะต้องเตรียมเชื้ออสุจิหลังเก็บมาได้ใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงก่อนการผสมกับไข่ เพื่อให้เวลาเชื้ออสุจิละลายและเตรียม คัดเชื้ออสุจิ
ในกรณีที่ไม่มีเชื้ออสุจิหรือมีจำนวนและคุณภาพที่ไม่ดี ฝ่ายชายอาจจะต้องได้รับการทำผ่าตัดเอาเชื้ออสุจิออกมา
ขั้นตอนที่ 4 การปฏิสนธิโดยวิธี IVF/ICSI สำหรับเด็กหลอดแก้ว
การปฏิสนธินอกร่างกาย In Vitro Fertilization (IVF)
เชื้ออสุจิจะถูกวางไว้กับไข่ในตู้เลี้ยงตัวอ่อนที่มีภาวะแวดล้อมทีเหมาะสม ขั้นตอนนี้เรียกว่า การผสมเชื้อ (Insemination)
ไข่จะถูกเลี้ยงในสิ่งแวดล้อมที่มีอาหารที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการและเชื้ออสุจิจำนวน 50,000 ถึง 100,000 ตัวที่มีการ
เคลื่อนไหวที่ดี จะถูกวางไว้ในจานเลี้ยงตัวอ่อนเดียวกัน ซึ่งจานเลี้ยงตัวอ่อนจะถูกวางในตู้เลี้ยงตัวอ่อนเป็นเวลาหนึ่งคืน
อัตราการปฏิสนธิในกรณีเชื้ออสุจิที่มีคุณภาพปกติคือ 70-90%
หลังจากนั้น 19-20 ชั่วโมงต่อมา นักวิทยาศาสตร์จะนำตัวอ่อนมาตรวจดูว่ามีภาวะที่เรียกว่าระยะ โปรนิวเคลียส (Pronucleus,PN) ตัวอ่อนที่ปกติจะมี 2 โปรนิวเคลียส ซึ่งเรียกว่าระยะ 2PN ตัวอ่อนที่ได้ระยะ 2PN จะถือว่ามีการปฏิสนธิที่สมบูรณ์ ซึ่งโปรนิวเคลียสทั้งสองก็คือโครโมโซมของไข่และเชื้ออสุจินั่นเอง
การปฏิสนธินอกร่างกายแบบอิ๊กซี่ Intracytoplasmic Sperm Injection (ICSI) การปฏิสนธินอกร่างกายแบบอิ๊กซี่ (ICSI) คือ เทคนิคที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้ปฏิสนธิสำหรับคู่สมรสที่มีภาวะที่มีบุตร ยาก ที่เกิดจากฝ่ายชายหรือคู่สมรสที่ได้รับการรักษาโดยการปฏิสินธินอกร่างกายโดยวิธี IVF แล้วไม่สำเร็จมาก่อน วิธี การนี้จะแก้ปัญหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิสนธิซึ่งจะทำให้โอกาสในการสำเร็จจากการทำเด็กหลอดแก้วมาก ยิ่งขึ้น
อิ๊กซี่ (ICSI) ทำงานยังไง เทคนิคการทำคือการหาเชื้ออสุจิที่มีชีวิตคุณภาพดีหนึ่งตัวฉีดเข้าไปในเนื้อไข่ หลังการเก็บไข่และเลี้ยงในภาวะที่เหมาะสม ในห้องปฏิบัติการ จากนั้นจะเตรียมเชื้ออสุจิโดยการปั่น(centrifuging)ในน้ำยาเฉพาะ ซึ่งวิธีการนี้จะแยกเชื้ออสุจิที่ดีออกจากเศษเซลและเชื้ออสุจิที่ตายแล้ว นักวิทยาศาสตร์จะดูดเชื้ออสุจิที่มีชีวิตที่คัดแล้วเข้าไปในเข็มอิ๊กซี่และฉีดเข้าไปในเนื้อของไข่
ข้อบ่งชี้ในการทำอิ๊กซี่ (ICSI) อิ๋กซี่มีข้อบ่งชี้หลักในกรณีที่ฝ่ายชายมีเชื้ออสุจิที่ผิดปกติ แต่ก็มีข้อบ่งชี้อื่น เช่น ประวัติการปฏิสนธิต่ำในรอบการปฏิสนธิ โดยวิธีไอวีเอฟ(IVF) , ภาวะเชื้ออสุจิที่คุณภาพไม่แน่นอน และภาวะมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นคนไข้หลาคนเลือก ที่จะทำวิธีอิ๋กซี่ (ICSI) แม้ว่าจะไม่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน อัตราการปฏิสนธิของวิธีการนี้คือ 70-90% ของไข่ทั้งหมดที่ได้รับการ ปฏิสนธิโดยวิธีอิ๊กซี่ ซึ่งก็ใกล้เคียงกับอัตราการปฏิสนธิที่ได้จากไอวีเอฟ (IVF)ที่มีเชื้ออสุจิที่มีคุณภาพดี
หลังจากนั้น 19-20 ชั่วโมงต่อมา นักวิทยาศาสตร์จะนำตัวอ่อนมาตรวจดูว่ามีภาวะที่เรียกว่าระยะ โปรนิวเคลียส (Pronucleus,PN) ตัวอ่อนที่ปกติจะมี 2 โปรนิวเคลียส ซึ่งเรียกว่าระยะ 2PN ตัวอ่อนที่ได้ระยะ 2PN จะถือว่ามีการปฏิสนธิที่สมบูรณ์ ซึ่งโปรนิวเคลียสทั้งสองก็คือโครโมโซมของไข่และเชื้ออสุจินั่นเอง
การปฏิสนธินอกร่างกายแบบอิ๊กซี่ Intracytoplasmic Sperm Injection (ICSI) การปฏิสนธินอกร่างกายแบบอิ๊กซี่ (ICSI) คือ เทคนิคที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้ปฏิสนธิสำหรับคู่สมรสที่มีภาวะที่มีบุตร ยาก ที่เกิดจากฝ่ายชายหรือคู่สมรสที่ได้รับการรักษาโดยการปฏิสินธินอกร่างกายโดยวิธี IVF แล้วไม่สำเร็จมาก่อน วิธี การนี้จะแก้ปัญหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิสนธิซึ่งจะทำให้โอกาสในการสำเร็จจากการทำเด็กหลอดแก้วมาก ยิ่งขึ้น
อิ๊กซี่ (ICSI) ทำงานยังไง เทคนิคการทำคือการหาเชื้ออสุจิที่มีชีวิตคุณภาพดีหนึ่งตัวฉีดเข้าไปในเนื้อไข่ หลังการเก็บไข่และเลี้ยงในภาวะที่เหมาะสม ในห้องปฏิบัติการ จากนั้นจะเตรียมเชื้ออสุจิโดยการปั่น(centrifuging)ในน้ำยาเฉพาะ ซึ่งวิธีการนี้จะแยกเชื้ออสุจิที่ดีออกจากเศษเซลและเชื้ออสุจิที่ตายแล้ว นักวิทยาศาสตร์จะดูดเชื้ออสุจิที่มีชีวิตที่คัดแล้วเข้าไปในเข็มอิ๊กซี่และฉีดเข้าไปในเนื้อของไข่
ข้อบ่งชี้ในการทำอิ๊กซี่ (ICSI) อิ๋กซี่มีข้อบ่งชี้หลักในกรณีที่ฝ่ายชายมีเชื้ออสุจิที่ผิดปกติ แต่ก็มีข้อบ่งชี้อื่น เช่น ประวัติการปฏิสนธิต่ำในรอบการปฏิสนธิ โดยวิธีไอวีเอฟ(IVF) , ภาวะเชื้ออสุจิที่คุณภาพไม่แน่นอน และภาวะมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้นคนไข้หลาคนเลือก ที่จะทำวิธีอิ๋กซี่ (ICSI) แม้ว่าจะไม่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน อัตราการปฏิสนธิของวิธีการนี้คือ 70-90% ของไข่ทั้งหมดที่ได้รับการ ปฏิสนธิโดยวิธีอิ๊กซี่ ซึ่งก็ใกล้เคียงกับอัตราการปฏิสนธิที่ได้จากไอวีเอฟ (IVF)ที่มีเชื้ออสุจิที่มีคุณภาพดี
ขั้นตอนที่ 5 การเลี้ยงตัวอ่อน/การเลี้ยงตัวอ่อนระยะบลาสต์
เมื่อไข่ที่ถูกปฏิสนธิเริ่มมีการแบ่งตัวจะเรียกว่าตัวอ่อน ตัวอ่อนจะถูกเลี้ยงในตู้เลี้ยงตัวอ่อนที่ถูกควบคุมอย่างมีประ
สิทธิภาพ นักวิทยาศาตร์ในห้องปฏิบัติการจะตรวจตัวอ่อนเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าตัวอ่อนมีการพัฒนาการที่ปกติ
ในวันที่ 3-5 ตัวอ่อนที่ปกติจะมีหลายเซลที่กำลังแบ่งตัวอยู่ โดยทั่วไปมีระยะตัวอ่อนที่มักจะพูดถึง 2 ระยะ คือ ตัวอ่อนระยะวันที่ 3 (ตัวอ่อน 6-10 เซล) และตัวอ่อนระยะวันที่ 5-6 (ตัวอ่อนระยะบลาสต์)
การเลี้ยงตัวอ่อนระยะบลาสต์ได้เป็นที่นิยมของแพทย์และคู่สมรสที่มีบุตรยาก และการย้ายตัวอ่อนระยะบลาสต์ยังมีข้อดีมากกว่าการย้ายตัวอ่อนระยะวันที่ 3
ตัวอ่อนระยะบลาสต์หมายถึงตัวอ่อนที่พัฒนาไปถึงวันที่ 5-6 ซึ่งจะมีเซลข้างในตัวอ่อน 200-300 เซล แบ่งออกเป็น สองส่วน คือ ส่วนรอบนอกซึ่งต่อมาจะกลายเป็นรก และ ส่วนด้านใน (inner mass) ซึ่งจะกลายเป็นตัวทารกต่อไป ในการตังครรภ์โดยธรรมชาติ ตัวอ่อนจะพัฒนาไปเป็นระยะบลาสต์จะเดินทางออกจากท่อนำไข่ไปสู่โพรงมดลูก และตัวอ่อนที่พัฒนาถึงตัวอ่อนที่เรียกว่าบลาสต์เท่านั้นที่จะสามารถฝังตัวเข้าในเยื่อบุโพรงมดลูกได้
การย้ายตัวอ่อนระยะบลาสต์ถือว่าเลียนแบบธรรมชาติมากกว่าตัวอ่อนระยะวันที่3 เพราะว่าตัวอ่อนระยะบลาสต์ที่เราย้ายเข้าโพรงมดลูกเป็นตัวอ่อนที่พร้อมจะฝังตัวเช่นเดียวกับระยะตัวอ่อนในโพรงมดลูกที่เกิดจากการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ เปรียบเทียบกับตัวอ่อนวันที่ 3 ก็จะถูกย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกเช่นเดียวกันซึ่งปกติโดยธรรมชาติตัวอ่อนระยะนี้จะอยู่ในท่อนำไข่เท่านั้นยังไม่ได้เข้าสู่โพรงมดลูก การเลี้ยงตัวอ่อนไปถึงระยะบลาสต์จะสามารถทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเลือกตัวอ่อนที่ดีย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก ทำให้โอกาสการตั้งครรภ์มากขึ้น
การเลี้ยงตัวอ่อนระยะบลาสต์ได้เป็นที่นิยมของแพทย์และคู่สมรสที่มีบุตรยาก และการย้ายตัวอ่อนระยะบลาสต์ยังมีข้อดีมากกว่าการย้ายตัวอ่อนระยะวันที่ 3
ตัวอ่อนระยะบลาสต์หมายถึงตัวอ่อนที่พัฒนาไปถึงวันที่ 5-6 ซึ่งจะมีเซลข้างในตัวอ่อน 200-300 เซล แบ่งออกเป็น สองส่วน คือ ส่วนรอบนอกซึ่งต่อมาจะกลายเป็นรก และ ส่วนด้านใน (inner mass) ซึ่งจะกลายเป็นตัวทารกต่อไป ในการตังครรภ์โดยธรรมชาติ ตัวอ่อนจะพัฒนาไปเป็นระยะบลาสต์จะเดินทางออกจากท่อนำไข่ไปสู่โพรงมดลูก และตัวอ่อนที่พัฒนาถึงตัวอ่อนที่เรียกว่าบลาสต์เท่านั้นที่จะสามารถฝังตัวเข้าในเยื่อบุโพรงมดลูกได้
การย้ายตัวอ่อนระยะบลาสต์ถือว่าเลียนแบบธรรมชาติมากกว่าตัวอ่อนระยะวันที่3 เพราะว่าตัวอ่อนระยะบลาสต์ที่เราย้ายเข้าโพรงมดลูกเป็นตัวอ่อนที่พร้อมจะฝังตัวเช่นเดียวกับระยะตัวอ่อนในโพรงมดลูกที่เกิดจากการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ เปรียบเทียบกับตัวอ่อนวันที่ 3 ก็จะถูกย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกเช่นเดียวกันซึ่งปกติโดยธรรมชาติตัวอ่อนระยะนี้จะอยู่ในท่อนำไข่เท่านั้นยังไม่ได้เข้าสู่โพรงมดลูก การเลี้ยงตัวอ่อนไปถึงระยะบลาสต์จะสามารถทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเลือกตัวอ่อนที่ดีย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก ทำให้โอกาสการตั้งครรภ์มากขึ้น
ขั้นตอนที่ 6 การตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (PGT)
ขั้นตอนที่ 7 การแช่แข็งตัวอ่อน
เซลหนึ่งเซลจะประกอบด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ สิ่งที่ต้องระวังในตอนแช่แข็งเซลคือการที่มีน้ำแข็งเกิดขึ้นในเซล เกล็ดของน้ำแข็งจะทำร้ายผนังเซลและอวัยวะต่างๆภายในเซลตัวอ่อนต้องได้รับการปกป้องจากการแช่แข็ง ซึ่งต้องใช้น้ำยาพิเศษที่เรียกว่า cryoprotective agents (CPAs)ทำหน้าที่ปกป้องเซล
แพทย์จะใช้วิธีการแช่แข็ง 2 วิธี คือ แช่แข็งแบบช้า และ แช่แข็งแบบเร็ว
การแช่แข็งแบบช้า ตัวอ่อนจะถูกทำให้เย็นอย่างช้าๆตามระยะ น้ำยาปกป้องตัวอ่อน (CPAs) จะเข้าไปในตัวอ่อนโดยเพิ่มความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆใช้เวลา 10-20 นาที หลังจากนั้นตัวอ่อนจะถูกทำให้เย็นอย่างช้าๆในระยะเวลา 2 ชั่วโมงในเครื่องแช่แข็งตัวอ่อนที่ลดอุณหภูมิเป็นนาทีต่อนาที จนในที่สุดตัวอ่อนจะถูกแช่แข็งในระดับ -321 องศาฟาเรนไฮท์ หรือ -196 องศาเซลเซียส
การแช่ตัวอ่อนแบบแก้ว (Vitrification) คือการแช่แข็งตัวอ่อนที่ลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็วและใช้น้ำยาปกป้องตัวอ่อน (CPAs) ที่มีความเข้มข้นมากกว่า แพทย์จะเริ่มเติมน้ำยาปกป้องตัวอ่อน (CPAs) เข้าไปในน้ำยาเลี้ยงตัวอ่อน โดยที่ CPAs จะเข้มข้นมากและอาจทำร้ายเซลได้ และเพื่อป้องกันภาวะนี้จึงต้องมีการวางตัวอ่อนที่ถูกเติม CPAs เข้าไปใน ไนโตรเจนเหลวอย่างรวดเร็ว ขั้นตอนนี้จะทำให้ตัวอ่อนเกิดเป็นของแข็งที่เหมือนแก้วและน้ำแข็งจะไม่สามารถเกิดขึ้น มาทำร้ายตัวอ่อนได้ เมื่อจะมีการละลายตัวอ่อนเพื่อนำมาใช้ ก็จะมีการละลายอย่างช้าๆ โดยใช้น้ำยาพิเศษเพื่อดึง CPAs ออกมา แล้ว นำไปเลี้ยงตัวอ่อนในน้ำยาเลี้ยงตัวอ่อนปกติต่อไปประมาณ 95% ของตัวอ่อนแช่แข็งจะมีชีวิตอยู่หลัง ผ่านกระบวนการแช่แข็งและละลาย
แพทย์จะใช้วิธีการแช่แข็ง 2 วิธี คือ แช่แข็งแบบช้า และ แช่แข็งแบบเร็ว
การแช่แข็งแบบช้า ตัวอ่อนจะถูกทำให้เย็นอย่างช้าๆตามระยะ น้ำยาปกป้องตัวอ่อน (CPAs) จะเข้าไปในตัวอ่อนโดยเพิ่มความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆใช้เวลา 10-20 นาที หลังจากนั้นตัวอ่อนจะถูกทำให้เย็นอย่างช้าๆในระยะเวลา 2 ชั่วโมงในเครื่องแช่แข็งตัวอ่อนที่ลดอุณหภูมิเป็นนาทีต่อนาที จนในที่สุดตัวอ่อนจะถูกแช่แข็งในระดับ -321 องศาฟาเรนไฮท์ หรือ -196 องศาเซลเซียส
การแช่ตัวอ่อนแบบแก้ว (Vitrification) คือการแช่แข็งตัวอ่อนที่ลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็วและใช้น้ำยาปกป้องตัวอ่อน (CPAs) ที่มีความเข้มข้นมากกว่า แพทย์จะเริ่มเติมน้ำยาปกป้องตัวอ่อน (CPAs) เข้าไปในน้ำยาเลี้ยงตัวอ่อน โดยที่ CPAs จะเข้มข้นมากและอาจทำร้ายเซลได้ และเพื่อป้องกันภาวะนี้จึงต้องมีการวางตัวอ่อนที่ถูกเติม CPAs เข้าไปใน ไนโตรเจนเหลวอย่างรวดเร็ว ขั้นตอนนี้จะทำให้ตัวอ่อนเกิดเป็นของแข็งที่เหมือนแก้วและน้ำแข็งจะไม่สามารถเกิดขึ้น มาทำร้ายตัวอ่อนได้ เมื่อจะมีการละลายตัวอ่อนเพื่อนำมาใช้ ก็จะมีการละลายอย่างช้าๆ โดยใช้น้ำยาพิเศษเพื่อดึง CPAs ออกมา แล้ว นำไปเลี้ยงตัวอ่อนในน้ำยาเลี้ยงตัวอ่อนปกติต่อไปประมาณ 95% ของตัวอ่อนแช่แข็งจะมีชีวิตอยู่หลัง ผ่านกระบวนการแช่แข็งและละลาย
ขั้นตอนที่ 8 การย้ายตัวอ่อน
ในวันย้ายตัวอ่อน ตัวอ่อนจะถูกละลายออกมา หลังจากนั้นตัว่อ่อนถูกย้ายเข้าไปในโพรงมดลูก ระยะของตัวอ่อนต้องมีความสัมพันธุ์กับวันของการเตรียมมดลูกที่ควบคุมโดยฮอร์โมนจากภายนอก ขั้นตอนทุกขั้นตอนจะทำในขณะที่ผู้ป่วยตื่นอยู่(ไม่ได้ดมยาสลบ) แพทย์จะสอดสายย้ายตัวอ่อนที่มีตัวอ่อนอยู่ เข้าไปในโพรงมดลูกผ่านทางช่องคลอดและปากมดลูก ถ้าตัวอ่อนฝังเข้าไปในเยื่อบุโพรงมดลูกก็จะตรวจพบการตั้งครรภ์ต่อไป
ปกติแพทย์จะทำการใส่ตัวอ่อน 1-2 ตัวอ่อน เข้าในมดลูกในเวลาเดียวกัน ซึ่งจำนวนตัวอ่อนที่ใส่ถือว่าเป็นประเด็น ที่อาจจะต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะ อายุของฝ่ายหญิงที่ได้รับการใส่ตัวอ่อน
ก่อนย้ายตัวอ่อน ฝ่ายหญิงจะได้รับยาฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลา 12-14 วันตั้งแต่วันที่ 3 ของประจำเดือน จากนั้นจะได้รับยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเป็นเวลา 3-5 วันก่อนย้าย ปกติยาโปรเจสเตอโรนมีทั้งรับประทานและสอดในช่องคลอด ในบางครั้งอาจจะมีรูปแบบของยาฉีดร่วมด้วย
ปกติแพทย์จะทำการใส่ตัวอ่อน 1-2 ตัวอ่อน เข้าในมดลูกในเวลาเดียวกัน ซึ่งจำนวนตัวอ่อนที่ใส่ถือว่าเป็นประเด็น ที่อาจจะต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะ อายุของฝ่ายหญิงที่ได้รับการใส่ตัวอ่อน
ก่อนย้ายตัวอ่อน ฝ่ายหญิงจะได้รับยาฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลา 12-14 วันตั้งแต่วันที่ 3 ของประจำเดือน จากนั้นจะได้รับยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเป็นเวลา 3-5 วันก่อนย้าย ปกติยาโปรเจสเตอโรนมีทั้งรับประทานและสอดในช่องคลอด ในบางครั้งอาจจะมีรูปแบบของยาฉีดร่วมด้วย
ขั้นตอนที่ 9 ตรวจการตั้งครรภ์
ประมาณ 7-10 วันหลังจากย้ายตัวอ่อน แพทย์จะนัดตรวจการตั้งครรภ์โดยการเจาะเลือด โดยจะตรวจฮอร์โมนของ
การตั้งครรภ์และระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ถ้าตรวจพบว่าตั้งครรภ์แพทย์จะนัดตรวจการตั้งครรภ์ทุก 2-3 วันใน
ระยะเริ่มแรก ซึ่งระดับฮอร์โมนของการตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่าในทุก 2 วัน
คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องได้รับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสัปดาห์ที่ 12 ของการตั้งครรภ์ แพทย์จะตรวจติดตามระดับฮอร์โมนในเลือดและอัลตราซาวน์เป็นระยะ รวมทั้งเพื่อดูว่ามีภาวะแท้งหรือท้องนอดมดลูกร่วมด้วยหรือไม่
คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องได้รับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสัปดาห์ที่ 12 ของการตั้งครรภ์ แพทย์จะตรวจติดตามระดับฮอร์โมนในเลือดและอัลตราซาวน์เป็นระยะ รวมทั้งเพื่อดูว่ามีภาวะแท้งหรือท้องนอดมดลูกร่วมด้วยหรือไม่
เด็กหลอดแก้ว ที่ “iBaby” ลูกของคุณ เปรียบเสมือนลูกของเรา
โดยท่านสามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาการมีบุตรยาก หรือการทำเด็กหลอดแก้ว จากคุณหมอได้ด้วยการกรอกแบบฟอร์มข้างล่างนี้