Sperm DNA Fragmentation (SDF) เป็นข้อมูลเพิ่มเติมที่สำคัญเกี่ยวกับคุณภาพน้ำเชื้อ ค่า SDF ที่สูงกว่าค่าเกณฑ์ 30% แสดงถึงคุณภาพที่ไม่ดีของสเปิร์ม ค่า SDF ช่วยให้แพทย์นำมาผลลัพธ์ที่ได้มาประกอบกับข้อมูลเชิงปริมาณของน้ำเชื้อเพื่อประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วย

SDF คือการประเมินอะไร?

  1. เพื่อแยกแยะว่าผู้ป่วยรายใดที่เหมาะสมสำหรับการรักษาโดย IUI
  2. ประเมินคุณภาพของตัวอย่างน้ำอสุจิหรือผู้บริจาคเพื่อความเหมาะสม
  3. เพื่อประเมินประสิทธิภาพของหัตถการรักษาหรือการรักษาโรคติดเชื้อ
  4. เพื่อหาคำตอบสำหรับกรณีของภาวะมีบุตรยากที่ไม่สามารถอธิบายได้ การรักษาผู้มีบุตรยากที่ล้มเหลวหรือภาวะแท้งซ้ำ

คนไข้ที่มีสภาวะต่อไปนี้ ควรได้รับการตรวจ SDF

  • คู่สมรสที่มีประวัติของการแท้งบุตรที่เกิดขึ้นเอง
  • คู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยากโดยไม่สามารถหาสาเหตุได้มานานกว่า 6 เดือนถึง 1 ปี
  • การคัดเลือกผู้บริจาค
  • การเลือกตัวอย่างน้ำเชื้อที่ดีที่สุดก่อนการทำหมันหรือการรักษามะเร็ง
  • ฝ่ายชายอายุมากกว่า 40 ปีที่มีประวัติสูบบุหรี่ หรือผู้ที่สัมผัสกับสารพิษและมลพิษ
  • ฝ่ายชายที่กำลังรักษาโรคมะเร็งหรือใช้ยาตามใบสั่งแพทย์บางอย่างที่มีผลกับน้ำเชื้อ
  • ฝ่ายชายที่กำลังมีโรคติดเชื้อหรือมีไข้และการประเมินภาวะหลอดเลือดดำอัณฑะขอด
  • ได้ตัวอ่อนที่คุณภาพไม่ดีแม้ในรอบการบริจาคไข่ครั้งที่สอง
  • ปัจจัยจากฝ่ายชายที่ไม่ทราบสาเหตุ

การทำ MACS สำหรับน้ำเชื้อคืออะไร

เป็นวิธีพิเศษในการเลือกอสุจิที่ไม่ตาย หรือมีความเสียหายของสารพันธุกรรม

ความเสียหายของสารพันธุกรรมจะนำไปสู่สเปิร์มที่มีโปรแกรมเซลล์ตาย ซึ่งมีหลายปัจจัยที่มีผล เช่น ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต โรคหรือปัจจัยที่มีผลกระทบหลักของระบบสืบพันธุ์เพศชาย

ใครบ้างที่ควรใช้วิธี MACS sperm

  1. ผู้ป่วยที่มีค่า SDF สูง โดยเฉพาะเกิน 30%
  2. มีประวัติความล้มเหลวซ้ำซากของการรักษาด้วยวิธี IVF / ICSI
  3. มีผลตรวจสเปิร์มทางกายภาพที่ผิดปกติหรือภาวะหลอดเลือดดำที่อัณฑะขอด

การประเมินผลทางคลินิก

จากผลการรักษาผู้ป่วยภาวะมีบุตรยาก พบว่า การเตรียมน้ำเชื้อโดยใช้วิธี MACS เสริมมีข้อได้เปรียบเหนือการเตรียมอสุจิแบบดั้งเดิมในแง่ของ การลดลงของความเสียหายของสารพันธุกรรมหรือการตายของสเปิร์ม อีกทั้งยังมีผลต่อการเจาะเข้าไปผสมกับไข่อีกด้วย และทำให้อัตราการตั้งครรภ์ เพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับการเตรียมสเปิร์มโดยวิธีแบบเก่า

PICSI คืออะไร ?

เป็นวิธีการเลือกอสุจิที่ดีเพื่อทำการปฏิสนธิต่อไป วิธีการนี้แตกต่างจากการทำ ICSI (อิ๊กซี่) ทั่วไป ซึ่งเป็นการเลือกเอาอสุจิที่มีการเคลื่อนไหวดี และรูปร่างดี เท่านั้น แต่ PICSI เป็นการเลือกอสุจิที่โตเต็มวัย มีความสมบูรณ์ของพันธุกรรม และการทำงาน

ส่วนใหญ่การใช้ PICSI ในกรณีที่มีอสุจิไม่ได้มีการเคลื่อนไหวที่สมบูรณ์ แต่คนที่อสุจิมีการเคลื่อนไหวที่ดีก็สามารถทำ PICSI ได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิและการตั้งครรภ์

อสุจิจะถูกวางอยู่บนจาน PICSI ซึ่งจะมีสารที่ชื่อว่า ไฮยาลูโรแนน (Hyaluronan hydrogel) ซึ่งเป็นสารที่มักจะมีในผิวของไข่

อสุจิที่โตเต็มวัยและมีความสมบูรณ์จะสามารถที่จะจับกับสารไฮยาลูโรแนน ซึ่งหมายความว่าเป็นอสุจิที่มีความเหมาะสมมากกว่าอสุจิที่ไม่จับกับสารนี้ หลังจากที่ได้อสุจิที่คัดเลือกแล้วก็จะนำอสุจิเหล่านี้ไปทำอิ๊กซี่ต่อไป

ผู้ที่เหมาะสมกับการทำ PICSI

  • คนที่มีอสุจิที่เคลื่อนไหวน้อย
  • คนที่ต้องทำการผ่าตัดเพื่อหาเชื้ออสุจิ
  • คนที่มีอสุจิรูปร่างดีจำนวนน้อย
  • คนที่เคยทำอิ๊กซี่แล้วล้มเหลว หรือ มีการปฏิสนธิน้อย
  • คนที่มีภาวะแท้งบ่อย
  • คนที่ได้ตัวอ่อนที่คุณภาพไม่ดีหลังจากการทำเด็กหลอดแก้ว
picsi

การผ่าตัดหาเชื้ออสุจิคืออะไร ?

การผ่าตัดหาเชื้ออสุจิเป็นหนึ่งในการรักษา ผู้มีบุตรยาก ซึ่งเป็นวิธีการเอาเชื้ออสุจิออกมาจากลูกอัณฑะแทนการเอาออกมา ด้วยตัวเอง การผ่าตัดใช้กรณีที่เชื้ออสุจิไม่มีหรือมีจำนวนน้อยมาก ซึ่งหลังจากที่ได้เชื้ออสุจิมาแล้วจะผสมกับไข่โดยวิธีอิ๊กซี่โดยทันทีประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของผู้ชายที่มารักษา มีบุตรยากจะตรวจไม่พบเชื้ออสุจิ ซึ่งมีหลายสาเหตุ เช่น ท่อนำเชื้ออสุจิอุดตัน ทำให้เชื้อที่ถูกสร้างจากลูกอัณฑะไม่สามารถเดินทางมาถึงทางออกของเชื้ออสุจิได้หรือ กรณีที่การผลิตเชื้ออสุจิออกมาได้น้อย เหล่านี้สามารถที่จะทำการผ่าตัดหาเชื้ออสุจิได้ แต่ยกเว้นกรณีลูกอัณฑะไม่สามารถผลิตเชื้ออสุจิได้เลย ก็ไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้

ผ่าตัดหาเชื้ออสุจิ

ประเภทของการผ่าตัดหาเชื้ออสุจิ

การผ่าตัดหาเชื้ออสุจิต้องใช้วิธีไหน ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการไม่มีเชื้ออสุจิ บางวิธีอาจจะดีกว่าอีกวิธี ขึ้นอยู่กับกรณีของการไม่มีเชื้ออสุจิ เชื้ออสุจิที่ได้มาจากการผ่าตัดส่วนใหญ่จะไม่ใช่เชื้ออสุจิที่โตเต็มวัยและต้องการผสมกับไข่โดยวิธีอิ๊กซี่

  • การผ่าตัดโดยวิธีพีซ่า Percutaneous Sperm Aspiration (PESA)
    มักจะเป็นวิธีการแรกที่จะใช้ในการผ่าตัดหาเชื้ออสุจิ วิธีการนี้จะใช้เวลาสั้นและไม่เจ็บปวด โดยไม่มีแผลผ่าตัด โดยจะใช้เข็มแทงผ่านถุงอัณฑะเข้าไปที่ท่อพักน้ำเชื้อ น้ำเชื้อจะถูกดูด ออกมานำไปวิเคราะห์ดูจำนวนและการเคลื่อนไหวของอสุจิโดยทั่วไปวิธีนี้ใช้เวลา 10-20 นาทีและใช้เพียงแค่ยาชาเฉพาะที่หรือยานอนหลับ
  • การผ่าตัดโดยวิธีมีซ่า Micro-epididymal Sperm Aspiration (MESA)
    เป็นวิธีที่ต้องใช้ยาสลบ คนไข้จะได้รับการผ่าตัดถุงอัณฑะเป็นแผลเล็กเข้าไปที่ท่อเก็บน้ำเชื้อ แล้วนำน้ำเชื้อไปตรวจดูจำนวนและการเคลื่อนไหวของเชื้ออสุจิใต้กล้องจุลทรรศน์ต่อไป
  • การผ่าตัดหาเชื้ออสุจิโดยวิธีเทซ่า Testicular Sperm Aspiration (TESA)
    ถ้าไม่มีอสุจิตรวจพบได้จากท่อพักน้ำเชื้อ อาจจะใช้เข็มแทงผ่านเข้าไปในลูกอัณฑะโดยตรง โดยจะได้ชิ้นเนื้อบางส่วนออกมาเพื่อนำไปตรวจหาอสุจิต่อไป
  • การผ่าตัดหาเชื้ออสุจิโดยวิธีเทเซ่ Testicular Sperm Extraction (TESE)
    การผ่าตัดวิธีนี้จะมีแผลผ่าตัดเล็กที่ถุงอัณฑะและลูกอัณฑะ หรือเรียกว่าการตัดชิ้นเนื้อลูกอัณฑะ การผ่าตัดต้องการยาสลบเนื่องจากอาจมีอาการเจ็บปวด อย่างไรก็ตามอาการจะดีขึ้นภายใน 3 วันหลังการผ่าตัด

ประเภทของการผ่าตัดหาเชื้ออสุจิ

การผ่าตัดหาเชื้ออสุจิค่อนข้างไม่มีความเสี่ยง ความเสี่ยงที่อาจพบได้บ้าง คือเลือดออกและติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด แต่พบได้เพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของคนไข้ รวมทั้งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการดมยาสลบ

ความสำเร็จจากการทำผ่าตัดหาเชื้ออสุจิ

ความสำเร็จขึ้นอยู่กับประเภทของการผ่าตัดหาเชื้ออสุจิและจำนวนเชื้อที่ฝ่ายชายมี เนื่องจากเชื้ออสุจิที่ได้มาอาจจะยังไม่ได้โตเต็มวัย และไม่สามารถทำการผสมกับไข่โดยวิธีเด็กหลอดแก้ว (IVF) ทั่วไป แต่จะต้องผสมโดยวิธีอิ๊กซี่ (ICSI)

เยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium) คืออะไร

ความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial receptivity) สำคัญอย่างไร

เยื่อบุโพรงมดลูกเป็นเนื้อเยื่อที่บุภายในมดลูกซึ่งตัวอ่อนจะฝังตัว และอาศัยอยู่ระหว่างตั้งครรภ์ เยื่อบุโพรงมดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงของรอบเดือน เพื่อให้มีความพร้อมในการฝังตัวของตัวอ่อน ในการที่จะตั้งครรภ์ได้สำเร็จตัวอ่อนต้องถูกฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูกในช่วงเวลาเฉพาะของวงจรการตกไข่ ช่วงเวลาเฉพาะนี้เรียกว่า หน้าต่างการฝังตัว (Window of implantation หรือเรียกสั้นๆ ว่า WOI) สำหรับผู้หญิงที่จะทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) การทราบหน้าต่างการฝังตัวนั้นสำคัญมาก การวิจัยพบว่าผู้หญิงเกือบ 40%  มีหน้าต่างการฝังตัวในช่วงเวลาต่างกันเมื่อเทียบกับผู้หญิงทั่วไป 

เยื่อบุโพรงมดลูก

ในหลายกรณีการฝังตัวอ่อนในมดลูกที่แข็งแรงก็อาจล้มเหลวเนื่องจากการย้ายตัวอ่อนอยู่นอกหน้าต่างการฝังตัวถึงแม้ว่าคุณภาพของตัวอ่อนจะดีเพียงใดก็ตาม ซึ่งนี่อาจเป็นหนึ่งสาเหตุของภาวะตั้งครรภ์ที่ตัวอ่อนไม่ฝังตัว (Biochemical pregnancy) ผู้หญิงแต่ละคนมีหน้าต่างการฝังตัวที่เฉพาะบุคคลไม่ซ้ำกันบ้างหน้าต่างก็มาเร็ว (Early receptive) หรือบ้างก็มาสาย (Late receptive) บ้างหน้าต่างก็มีช่วงเวลาเปิดนานหรือบ้างก็ช่วงสั้น แพทย์จะไม่ทราบว่าหน้าต่างการฝังตัวอาจผิดเวลาจนกว่าจะพบว่าการย้ายตัวอ่อนแล้วล้มเหลว การตรวจ ERA เป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการระบุเวลาที่ดีที่สุดสำหรับย้ายตัวอ่อนในแต่ละบุคคล

หน้าต่างการฝังตัว

 

ERA คืออะไร

Endometrial Receptivity Analysis (ERA) เป็นการวิเคราะห์ความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการฝังตัวของตัวอ่อนของผู้หญิงแต่ละคน ทำให้สามารถย้ายตัวอ่อนได้ในเวลาที่เหมาะสมที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

ERA มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร

แพทย์จะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกชิ้นเล็กๆ เพื่อใช้วิเคราะห์การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกในการฝังตัวของตัวอ่อนจำนวน 248 ยีน โดยใช้เทคโนโลยี Next Generation Sequencing (NGS) และใช้โปรแกรมที่ชาญฉลาดในการระบุช่วงเวลาหน้าต่างการฝังตัว (WOI) ที่ดีที่สุด หลังทำการวิเคราะห์แพทย์จะได้รับคำแนะนำจากรายงาน ERA ทำให้สามารถย้ายตัวอ่อนได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสมและแม่นยำที่สุด ด้วยการรักษาเฉพาะบุคคลนี้สามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้นอีก 25% แม้ว่าหน้าต่างการฝังตัวของท่านอาจเหมือนผู้หญิงทั่วไป ERA ก็ยังสามารถระบุเวลาย้ายตัวอ่อนที่ดีที่สุดให้คุณได้

ขั้นตอนการทำงาน

ทำไมจึงควรตรวจ ERA 

  1. เมื่อทำการย้ายตัวอ่อนด้วยวิธีเฉพาะบุคคล (Personalized embryo transfer) โอกาสในการตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นหลังจากการรักษาด้วยการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ โดยพบว่ากลุ่มผู้หญิงที่ตรวจ ERA มีโอกาสตั้งครรภ์สูงกว่ากลุ่มผู้หญิงที่ไม่ได้ตรวจ
  2. ผู้หญิงที่ตรวจ ERA ในรอบแรกของการทำเด็กหลอดแก้วมีอัตราการตั้งครรภ์สูงถึง 72.5% *
  3. เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้มากที่สุดและไม่สูญเสียตัวอ่อนที่ดีไปจากการที่ตัวอ่อนไม่ฝังตัว
  4. ผู้หญิง 7 ใน 10 คนให้กำเนิดบุตรหลังจากตรวจ ERA 1 ปี *

    ERA

  5. การศึกษาแบบสุ่มล่าสุด * พิสูจน์ให้เห็นว่าการย้ายตัวอ่อนเฉพาะบุคคล (ตรวจ ERA) นั้นเหนือกว่าการย้ายตัวอ่อนแบบแช่แข็งแบบคลาสสิก (ไม่ตรวจ ERA) โดยสามารถเพิ่มทั้งอัตราการฝังตัวของตัวอ่อน (Implantation rate) อัตราการตั้งครรภ์ (Pregnancy rate) และอัตราการคลอดมีชีพ (Live birth rate)

 

*Simón et al., In vitro fertilization with personalized blastocyst transfer versus frozen or fresh blastocyst transfer: a multicenter, randomized clinical trial. Fertility and Sterility, 2019; 112. e56-e57. 10.1016/j.fertnstert.2019.07.273.

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจ ERA

  1. ผู้ที่เริ่มรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ทุกราย ที่ไม่อยากสูญเสียตัวอ่อนที่ดีไป เนื่องด้วยตัวอ่อนไม่ฝังตัวจากสาเหตุมดลูกไม่มีความพร้อม โดยเฉพาะคู่สมรสที่มีอายุมากและมีตัวอ่อนจำนวนจำกัด 
  2. ผู้ที่ไม่ประสบผลสำเร็จในการรักษาภาวะมีบุตรยาก ย้ายตัวอ่อนที่คุณภาพดีมาหลายครั้งแล้วแต่ก็ไม่ตั้งครรภ์

สุขภาพของเยื่อบุโพรงมดลูกเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จ เยื่อบุโพรงมดลูกที่แข็งแรงต้องมีแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพในปริมาณที่เหมาะสม ภาวะมีบุตรยากเกิดจากปัจจัยของเยื่อบุโพรงมดลูกถึง 20% โดยพบว่า 30% ของผู้หญิงที่มีบุตรยากมีแบคทีเรียก่อโรคในเยื่อบุโพรงมดลูก

จุลินทรีย์ทั้งหมดที่อยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูก เรียกว่า ไมโครไบโอมของเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrial microbiome) โดยเยื่อบุโพรงมดลูกที่แข็งแรงจะอุดมไปด้วยแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพ

EMMA คืออะไร ?

Endometrial Microbiome Metagenomic Analysis (EMMA) เป็นการตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูกของคุณ สามารถบอกถึงความสมดุลของจุลินทรีย์ (ปริมาณแบคทีเรียที่ดีและไม่ดี) รวมถึงให้คำแนะนำในการกำจัดแบคทีเรียที่ไม่ดีและเสริมแบคทีเรียที่ดี ได้แก่ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่เกี่ยวข้องกับอัตราการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้น เพื่อเป็นการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูกให้ได้สภาวะที่ดีสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ของคุณ 

วิเคราะห์จุลินทรีย์เยื่อบุโพรงมดลูก

 

 

นอกจากนี้การตรวจ EMMA ยังคลอบคลุมถึงการตรวจวิเคราะห์หาแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคมดลูกอักเสบเรื้อรัง หรือที่เรียกว่า การตรวจ Analysis of Infectious Chronic Endometritis (ALICE) อีกด้วย

ทำไมไมโครไบโอมเยื่อบุโพรงมดลูกจึงมีความสำคัญ

ความสมดุลของแบคทีเรียในเยื่อบุโพรงมดลูกเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับความความสำเร็จในการย้ายตัวอ่อน  โดยหากมีแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพในปริมาณสัดส่วนที่สูงโอกาสการตั้งครรภ์ก็จะสูง และหากปริมาณแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพต่ำลงและมีแบคทีเรียก่อโรคก็จะทำให้โอกาสการตั้งครรภ์นั้นต่ำลง ดังนั้นการตรวจทราบไมโครไบโอมเยื่อบุโพรงมดลูกจะทำให้สามารถระบุความผิดปกติและการพยากรณ์โรคในระบบสืบพันธุ์ได้

ความสำเร็จในการตั้งครรภ์สูงขึ้น

EMMA มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร

แพทย์จะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกชิ้นเล็กๆ (สามารถใช้ตัวอย่างชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกร่วมกับการส่งตรวจ ERA ได้) จากนั้นใช้เทคโนโลยี Next Generation Sequencing (NGS) ในการวิเคราะห์องค์ประกอบทางพันธุกรรมทั้งหมดของแบคทีเรียและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูก หลังทำการวิเคราะห์แพทย์จะได้รายงานผล EMMA ซึ่งในรายงานจะให้ข้อมูลไมโครไบโอมในเยื่อบุโพรงมดลูกและแนะนำการรักษาเฉพาะบุคคล ซึ่งอาจรวมถึงการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและโปรไบโอติกที่มีแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ดีเพื่อฟื้นฟูสภาวะไมโครไบโอมในเยื่อบุโพรงมดลูกให้ดีขึ้น เมื่อใช้คำแนะนำจากรายงานผลแพทย์สามารถย้ายตัวอ่อนเข้าสู่มดมดลูกที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ของคุณ

ขั้นตอนการทำงาน

ทำไมจึงควรตรวจ EMMA ?

  • EMMA ใช้เทคโนโลยี Next Generation Sequencing (NGS) ในการวิเคราะห์ของแบคทีเรียทั้งหมดหรือไมโครไบโอมที่มีอยู่ในเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก
  • EMMA สามารถบอกถึงเปอร์เซ็นต์ของแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ดีในเยื่อบุโพรงมดลูก โดยแลคโตบาซิลลัสในสัดส่วนที่ต่ำมีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์การสืบพันธุ์ที่ไม่ดี
  • EMMA รวมถึงการทดสอบ ALICE ดังนั้นจึงบ่งชี้ถึงการมีอยู่ของแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบเรื้อรังและแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคอื่น ๆ
  • หากเยื่อบุโพรงมดลูกไม่ใช่แลคโตบาซิลลัสเป็นตัวเด่นรายงานจะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
  • EMMA จะระบุว่าสภาพแวดล้อมของจุลินทรีย์ในมดลูกเหมาะสมที่สุดหรือไม่สำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจ EMMA ?

  1. EMMA เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับสตรีที่มีบุตรยาก หรือผู้ที่ประสบประสบปัญหาตัวอ่อนไม่ฝังตัวอยู่บ่อยครั้ง (Recurrent Implantation Failure; RIF) หรือมีภาวะการแท้งซ้ำ (Recurrent Miscarriage) เพื่อช่วยเพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์
  2. ผู้ที่ต้องการมีบุตรทุกราย เพื่อเตรียมความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกให้เหมาะสมกับการฝังตัวของตัวอ่อน

มดลูกอักเสบเรื้อรังคืออะไร ?

มดลูกอักเสบเรื้อรัง (Chronic endometritis) คือการอักเสบอย่างต่อเนื่องของเยื่อบุโพรงมดลูกที่เกิดจากการติดเชื้อในโพรงมดลูก ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ไม่สามารถระบุได้ด้วยวิธีการวินิจฉัยแบบดั้งเดิมด้วยเพาะเชื้อ  ทำให้ไม่สามาถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่เฉพาะเจาะจงได้

การอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูกมักไม่มีอาการที่มองเห็นได้  แต่ทำให้เกิดมดลูกอักเสบเรื้อรังซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะมีบุตรยาก โดยพบว่าเป็นสาเหตุ 30% ของผู้หญิงที่มีบุตรยากมีสาเหตุมาจากมดลูกอักเสบเรื้อรัง และยิ่งไปกว่านั้นพบว่าในกลุ่มผู้หญิงที่ประสบปัญหาเรื่องตัวอ่อนไม่ฝังตัวอยู่บ่อยครั้ง (Recurrent Implantation Failure; RIF) หรือมีภาวะการแท้งซ้ำ (Recurrent Miscarriage) ถึง 66% มีเป็นผลมาจากมดลูกอักเสบเรื้อรัง

มดลูกอักเสบเรื้อรัง

ALICE คืออะไร ?

Analysis of Infectious Chronic Endometritis (ALICE) เป็นการทดสอบที่ตรวจหาแบคทีเรียทำให้เกิดมดลูกอักเสบเรื้อรัง และแนะนำการรักษาเฉพาะบุคคลที่เหมาะสม

ALICE มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร ?

แพทย์จะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกชิ้นเล็กๆ (สามารถใช้ตัวอย่างชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกร่วมกับการส่งตรวจ ERA ได้) จากนั้นใช้เทคโนโลยี Next Generation Sequencing (NGS) ในการวิเคราะห์องค์ประกอบทางพันธุกรรมของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของมดลูกอักเสบเรื้อรัง หลังทำการวิเคราะห์แพทย์จะได้รับรายงานผล ALICE ซึ่งในรายงานจะให้ข้อมูลชนิดแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของมดลูกอักเสบเรื้อรัง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะและโปรไบโอติกที่เหมาะสมซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดแบคทีเรียที่ตรวจพบ หลังทำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะจนตรวจไม่พบแบคทีเรียก่อโรคในเยื่อบุโพรงมดลูกแล้ว แพทย์จะย้ายตัวอ่อนเข้าสู่มดมดลูกที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ของคุณ

ขั้นตอนการทำงาน

ทำไมจึงควรตรวจ ALICE ?

ALICE ให้ข้อมูลที่ถูกต้องซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จในการรักษาโรคมดลูกอักเสบเรื้อรัง เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

  • หากการทดสอบ ALICE เป็นผลบวก รายงานจะระบุชนิดแบคทีเรียเฉพาะที่ทำให้เกิดภาวะนี้
  • คำแนะนำเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะและโปรไบโอติกที่เหมาะสมที่สุดจะขึ้นอยู่กับแบคทีเรียที่ตรวจพบ

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจ ALICE

  1. ALICE เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับสตรีที่มีบุตรยาก หรือผู้ที่ประสบประสบปัญหาตัวอ่อนไม่ฝังตัวอยู่บ่อยครั้ง (Recurrent Implantation Failure; RIF) หรือมีภาวะการแท้งซ้ำ (Recurrent Miscarriage) เพื่อช่วยเพิ่มความสำเร็จในการตั้งครรภ์
  2. ผู้ที่รักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

PRP คือ เกล็ดเลือดที่ได้จากการปั่นแยกชั้นของเลือด มาทำให้มีความเข้มข้นมากกว่าเกล็ดเลือดในกระแสโลหิตในร่างกาย 4-5 เท่า ซึ่งใน PRP จะมีสารสำคัญที่ชื่อว่า cytokines และ growth factors เป็นกลุ่มโปรตีนที่จะไปกระตุ้นให้เซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) มีการแบ่งตัว เพิ่มจำนวนมากขึ้น เพื่อฟื้นฟูและซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่เสื่อมสภาพลงให้ได้เนื้อเยื่อใหม่ที่แข็งแรง โดยอาศัยหลักการเดียวกับการรักษาตัวเองทางธรรมชาติของร่างกายเมื่อเกิดบาดแผล เกล็ดเลือดจะสร้างลิ่มเลือดขึ้นมาเพื่อหยุดการไหลของเลือดและกระตุ้นให้มีการสร้างเนื้อเยื่อใหม่เพื่อสมานบาดแผล ดังนั้นเกล็ดเลือดที่มีความเข้มข้นสูง จะมีปริมาณของ growth factors ที่สูงกว่าเกล็ดเลือดในกระแสโลหิต จึงสามารถช่วยฟื้นฟูและซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่มีการสึกหรอได้เป็นอย่างดี

จึงถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์อย่างหลากหลาย เช่น การรักษาอาการบาดเจ็บของกระดูกและข้อต่อ โดยเฉพาะในนักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมและแข่งขัน PRP จะช่วยรักษาอาการบาดเจ็บโดยที่ไม่ต้องผ่าตัด หรือในด้านเสริมควาความงาม PRP ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาผิวหน้า กระตุ้นให้มีการสร้างเนื้อเยื่อและคอลลาเจน ทำให้ผิวหน้าเปล่งปลั่งและเรียบเนียน นอกจากนี้ PRP ยังใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจ และใช้รักษาในด้านศัลยกรรมภายในช่องปากอีกด้วย  จึงเห็นได้ว่า PRP ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์อย่างมากมาย เพราะเป็นวิธีที่มีความปลอดภัย เนื่องจากเกล็ดเลือดที่ใช้รักษาเป็นเกล็ดเลือดที่ได้มาจากตัวคนไข้เอง จึงมีความเสี่ยงที่จะแพ้ต่ำและไม่มีผลข้างเคียง

PRP

PRP กับการรักษาภาวะมีบุตรยาก

ปัจจุบันได้มีการนำ PRP มาใช้รักษาผสมผสานควบคู่ไปกับการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะมีบุตรยาก ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ที่พบของผู้มีบุตรยาก คือ ผู้หญิงเมื่อมีอายุมากขึ้น จะมีจำนวนไข่ลดน้อยลง เพราะคุณภาพของไข่จะเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งอาจเกิดจากภาวะที่รังไข่ทำงานผิดปกติหรือภาวะรังไข่เสื่อม ทำให้ได้จำนวนไข่และคุณภาพของไข่น้อยลง จึงได้มีการนำ PRP ฉีดเข้าไปที่รังไข่ทั้ง 2 ข้าง เพื่อกระตุ้นให้รังไข่ทำงานได้ดีขึ้น โดย growth factor ที่เป็นกลุ่มโปรตีน จะไปกระตุ้นให้เซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์ไข่ มีการพัฒนาและแบ่งตัว จนได้จำนวนไข่เพิ่มมากขึ้น และยังช่วยฟื้นฟูเซลล์ไข่ที่เสื่อมสภาพให้กลับมาแบ่งตัวและพัฒนาเป็นไข่ที่มีคุณภาพที่ดีได้อีกด้วย

นอกจากปัญหาที่เกิดจากการทำงานของรังไข่ที่เป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยากแล้ว ยังมีอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญ คือ ผนังเยื่อบุมดลูกที่บางจะทำให้ตัวอ่อนฝังตัวไม่ติด ถึงแม้จะทำ IVF จนได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีก็ตาม แต่หากคนไข้มีความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกที่บางน้อยกว่า 7 มิลลิเมตร จะไม่สามารถใส่ตัวอ่อนได้ ดังนั้นจึงได้มีการฉีด PRP เข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อกระตุ้นให้เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกมีการแบ่งเซลล์ และเพิ่มจำนวนมากขึ้น ช่วยเพิ่มความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกให้เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อน เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

PRP เพื่อการฟื้นฟูรังไข่ (PRP Treatment for Ovarian Rejuvenation)

การฟื้นฟูรังไข่ด้วย PRP มีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก คนไข้ที่ได้รับการรักษาสามารถกลับบ้านได้ภายใน  1-2 ชั่วโมง โดยแพทย์จะฉีด PRP เข้าที่รังไข่ทั้ง 2 ข้าง ช่วงเวลาฉีด PRP ที่ได้ผลดีมากที่สุดจะทำในช่วงมีประจำเดือนหรือวันแรกๆ ของการมีรอบเดือน ก่อนที่จะมีการพัฒนาของไข่ในรอบถัดไป 

หลังจากรักษาด้วย PRP แพทย์จะตรวจติดตามผลการรักษาจากการทำอัลตราซาวน์ เพื่อตรวจวัดจำนวนไข่ และดูขนาดของไข่ และวัดค่าของฮอร์โมน AMH, FSH, LH และ estradiol หากค่าของฮอร์โมน AMH เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ค่าของฮอร์โมน FSH, LH และ estradiol ลดลง แสดงว่าการฟื้นฟูรังไข่ด้วย PRP ประสบผลสำเร็จ ซึ่งจากหลายๆ งานวิจัยพบว่า การฟื้นฟูรังไข่ด้วย PRP สามารถกระตุ้นให้ไข่ที่เสื่อมสภาพไปแล้ว กลับมาเติบโตและมีการพัฒนาจนได้ไข่ที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อตรวจวัดค่าฮอร์โมน AMH ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ตรวจวัดประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่ พบว่า รังไข่ที่ได้รับการฉีด PRP มีการทำงานของฮอร์โมน AMH เพิ่มมากขึ้น แสดงว่า PRP สามารถฟื้นฟูรังไข่ให้กลับมาทำงานได้ดี และช่วยคืนความอ่อนเยาว์ให้กับรังไข่ได้อีกครั้ง 

ใครที่เหมาะกับการฟื้นฟูรังไข่ด้วย PRP ?

  • ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เพราะยิ่งอายุมาก จำนวนไข่จะน้อยลงและเสื่อมสภาพลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • ผู้หญิงที่มีปัญหารังไข่หยุดการทำงานหรือมีภาวะรังไข่เสื่อม
  • ผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี แต่มีปัญหารังไข่ทำงานผิดปกติ
  • ผู้หญิงที่มีค่าการทำงานของฮอร์โมน AMH ต่ำ
  • ผู้หญิงที่ประสบปัญหาการมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ผู้หญิงที่ไม่ประสบความสำเร็จในการทำ IVF เพราะได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพไม่ดี เนื่องจากมีจำนวนไข่น้อยและไข่เสื่อมคุณภาพลง
  • ผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 50 ปี แต่เริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนก่อนกำหนด

PRP เพื่อการเพิ่มความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก (PRP Treatment for Uterine Rejuvenation)

ผู้หญิงที่มีปัญหาเยื่อบุโพรงมดลูกบาง อาจเกิดจากการติดเชื้อหรือเกิดจากการรักษาด้วยเคมีหรือรังสีทำให้เซลล์ในเยื่อบุโพรงมดลูกมีการแบ่งตัวและพัฒนาน้อยลง ถึงแม้ว่าจะใช้เทคโนโลยีด้าน IVF ช่วยรักษาภาวะมีบุตรยากจนได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพดี แต่หากตรวจพบว่าความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกน้อยกว่า 7 มิลลิเมตร จะไม่ได้รับการพิจารณาให้ใส่ตัวอ่อน เนื่องจากมีโอกาสสูงที่ตัวอ่อนจะฝังตัวไม่ติด ทำให้สูญเสียตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีไป ปัจจุบันจึงได้มีการนำ PRP ฉีดเข้าสู่โพรงมดลูกซึ่ง growth factor ใน PRP จะไปกระตุ้นเซลล์ต้นกำเนิดชนิดหนึ่งที่มีในมดลูกชื่อว่า mesenchymal cells ให้เซลล์มีการแบ่งตัว เพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกมีความหนาเพิ่มมากขึ้น เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งการฉีด PRP จะฉีด 48 ชั่วโมงก่อนใส่ตัวอ่อน เพื่อเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกให้มีความหนา เหมาะกับการฝังตัวของตัวอ่อน เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ

ผู้ที่ไม่สามารถรับการรักษาด้วย PRP

  1. ผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ (เกล็ดเลือดน้อยกว่า 105,000 ต่อไมโครลิตร)
  2. ผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง (Anemia) หรือซีด (ฮีโมโกลบินต่ำกว่า 10 กรัม ต่อเดซิลิตร)