การตรวจโครโมโซม
การตรวจโครโมโซมก่อนการฝังตัวอ่อน
การตรวจโครโมโซม ก่อนการฝังตัวอ่อนโดย NGS
(Next Generation Sequencing)
การตรวจคัดกรองทางพันธุกรรมก่อนการฝังตัวอ่อนเพื่อที่จะหาจำนวนของโครโมโซมที่ผิดปกติ การตรวจโดยเทคนิค NGS (Next Generation Sequencing)
เป็นเทคนิคที่ล้ำสมัยที่สุดในการตรวจคัดกรองทางพันธุกรรมก่อนการฝังตัวอ่อน
ข้อดีของการตรวจ NGS
- วิเคราะห์ผลได้ทั้ง 23 คู่โครโมโซม
- ความแม่นยำในการตรวจ NGS คือ 99%
- ความสามารถในการตรวจความผิดปกติทางจำนวน
ความผิดปกติแค่บางส่วนหรือความผิดปกติทั้งโครโมโซม
สามารถตรวจได้โดยมีความไวและความจำเพาะสูง - สามารถทำได้ในตัวอ่อนวันที่ 5 หรือ 6
- ตัวอ่อนสามารถย้ายได้หลังการแช่แข็ง
ข้อดีของการคัดกรองโครโมโซมโดยการใช้ NGS
- เพิ่มโอกาสการฝังตัวของตัวอ่อน
- ลดโอกาสการแท้ง
- เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์
- ลดจำนวนการทำเด็กหลอดแก้ว (ประหยัดเวลาและเงิน)
- เพิ่มโอกาสที่จะได้ลูกที่สมบูรณ์แข็งแรง
ใครที่ควรจะ ตรวจโครโมโซม โดย NGS
- ผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงที่มีการแท้งมากกว่าหนึ่งครั้ง
- คู่สมรสที่ไม่ประสบความสำเร็จจากการทำเด็กหลอดแก้วหลายครั้ง
- คู่สมรสที่มีปัญหาฝ่ายชาย ทั้งเรื่องคุณภาพและปริมาณของเชื้ออสุจิ
- ผู้หญิงที่เคยตั้งครรภ์ที่มีทารกผิดปกติ
- ความเป็นเพศชายหรือหญิงของทารกมีผลต่อความผิดปกติทางพันธุกรรม
ขั้นตอน ตรวจโครโมโซม โดยใช้ NGS
หมายเหตุ
- การตรวจโครโมโซม 23 คู่ โดย NGS ไม่สามารถตรวจโครโมโซมที่มีความผิดปกติในระดับต่ำ โครโมโซมที่เกิดการกลับด้าน (Inversion) หรือสลับตำแหน่ง (translocation)
- การตรวจโครโมโซม ก่อนการย้ายตัวอ่อนมีข้อจำกัดทางเทคนิคและจำนวนเซลล์ที่นำไปตรวจ ถ้าเซลล์ตัวอ่อนที่ดึงมาเอาไปตรวจแล้วผลออกมาปกติ ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกเซลล์ของตัวอ่อนข้างในจะปกติ เซลล์ของตัวอ่อนสามารถเป็นลักษณะที่เรียกว่า mosaic คือบางเซลล์ปกติบางเซลล์ผิดปกติ ซึ่งอาจจะมีการตั้งครรภ์ที่ทารกผิดปกติหลังการย้ายตัวอ่อน ดังนั้นหลังการตั้งครรภ์ยังต้องแนะนำให้ตรวจคัดกรองโครโมโซมหลังการตั้งครรภ์ด้วย
การตรวจโครโมโซม ก่อนการฝังตัวอ่อนโดย FISH
(Fluorescent In Situ Hybridization)
การตรวจคัดกรองทางพันธุกรรมก่อนฝังตัวอ่อน
เป็นการคัดกรองตัวอ่อนที่เกิดจากการทำเด็กหลอดแก้ว ในเรื่องจำนวนโครโมโซมที่ผิดปกติ
โครโมโซมผิดปกติคู่ที่ 13, 18, 21, X และ Y พบถึง 90 – 95% ของเด็กที่เกิดมามีโครโมโซมผิดปกติ
ข้อดีของเทคนิค FISH
- วิเคราะห์โครโมโซมได้ 5 คู่ (13,18,21,X และ Y)
- ความแม่นยำของการตรวจประมาณ 95%
- สะดวกและรวดเร็ว
- สามารถทำในตัวอ่อนระยะวันที่ 3 , 5 หรือ 6
- ตัวอ่อนสามารถที่จะย้ายได้ทั้งในรอบกระตุ้นไข่หรือในรอบแช่แข็ง
- ตรวจความผิดปกติทางโครโมโซมได้ดังนี้
risomy 21 (Down syndrome) 45, X (Turner Syndrome)
Trisomy 18 (Edward syndrome) 47,XXY (Klinefelter Syndrome)
Trisomy 13 (Patau syndrome) 47,XXX (Triple X syndrome)
47,XYY (Jacob’s syndrome)
ประโยชน์ของการคัดกรองพันธุกรรมก่อนฝังตัวอ่อนโดยวิธี FISH
- ลดอัตราการแท้ง
- เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ต่อเนื่อง
- ลดจำนวนรอบในการต้องทำเด็กหลอดแก้ว(ลดระยะเวลาและเงิน)
- โอกาสในการได้รับตัวอ่อนที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
คนไข้ประเภทไหนควรจะทำการตรวจคัดกรองทางพันธุกรรมก่อนฝังตัวอ่อนโดยเทคนิค FISH
- ผู้หญิงอายุมากกว่า 35 ปี
- ประวัติครอบครัวมีทารกที่มีโครโมโซมผิดปกติคู่ที่ 21,18,13
- มีความกังวลที่จะตั้งครรภ์ที่มีโครโมโซมผิดปกติ
- ความเป็นเพศชายหรือหญิงของทารกมีผลต่อความผิดปกติทางพันธุกรรม
- ประวัติการแท้งบ่อย
- ประวัติการทำเด็กหลอดแก้วไม่สำเร็จหลายครั้ง
ขั้นตอนการคัดกรองโครโมโซมโดยใช้ FISH
หมายเหตุ
- เทคนิค FISH ไม่สามารถตรวจโครโมโซมได้ทั้ง 23 คู่ แต่สามารถตรวจได้ 5 คู่คือ คู่ที่ 13,18,21,X และ Y ซี่งหมายความว่าตัวอ่อนที่ผิดปกติ ทางโครโมโซมหรือตัวอ่อนที่คุณภาพไม่ดีพอที่จะตั้งครรภ์ต่อไปได้ อาจถูกย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกได้
- การวิเคราะห์โดยเทคนิค FISH ไม่สามารถที่จะตรวจพบความผิดปกติดังต่อไปนี้ได้ chromosome mosaicism, chromosome structural abnormalities (translocation, inversion, duplication and deletion), uniparental disomy (UPD), single/ multigenic disorders และความผิดปกติอื่น
- การคัดกรองโครโมโซมก่อนการย้ายตัวอ่อนมีข้อจำกัดทางเทคนิคและจำนวนเซลล์ที่นำไปตรวจ ถ้าเซลล์ตัวอ่อนที่ดึงมาเอาไปตรวจแล้วผลออกมาปกติ
ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกเซลล์ของตัวอ่อนข้างในจะปกติ เซลล์ของตัวอ่อนสามารถเป็นลักษณะที่เรียกว่า mosaic คือบางเซลล์ปกติบางเซลล์ผิดปกติ
ซึ่งอาจจะมีการตั้งครรภ์ที่ทารกผิดปกติหลังการย้ายตัวอ่อน ดังนั้นหลังการตั้งครรภ์ยังต้องแนะนำให้ตรวจคัดกรองโครโมโซมหลังการตั้งครรภ์ด้วย
การตรวจทางพันธุกรรมก่อนฝังตัวอ่อนสำหรับความผิดปกติของยีน
การตรวจทางพันธุกรรมก่อนฝังตัวอ่อนสำหรับความผิดปกติของยีน
(Preimplantation Genetic Testing For Single Gene Disorders)
คนไข้ที่ควรจะได้รับการตรวจยีนของตัวอ่อนก่อนการฝังตัว
- พ่อหรือแม่มียีนที่ผิดปกติ
- คู่สมรสที่เคยมีบุตรที่มียีนผิดปกติ
- คู่สมรสที่มีประวัติในครอบครัวเครือญาติที่มีผู้ที่ผิดปกติทางยีน
ตัวอย่างของความผิดปกติของยีนที่พบบ่อยในเอเชีย
ตัวอย่างของความผิดปกติของยีนที่พบได้น้อย
เรายังสามารถให้บริการยีนอื่นนอกเหนือจากนี้ซึ่งต้องได้รับพัฒนาชุดตรวจเฉพาะแต่ละบุคคล
5 ขั้นตอนในการทำตรวจยีนในตัวอ่อนก่อนฝังตัว
- Consultation การปรึกษาคู่สมรสให้ประวัติของครอบครัวและผลการตรวจยีน
- Pre-PGD ก่อนการคัดกรองยีน การตรวจยีนในภรรยา,สามี,และเครือญาติ(โดยเฉพาะเด็กที่มียีนผิดปกติที่เกิดจากคู่สมรสคู่นั้น) ที่สามารถหาความผิดปกติของยีนในครอบครัว
- IVF and Embryo Biopsy ขบวนการเด็กหลอดแก้วและการดึงเซลล์ของตัวอ่อน
- PGD การตรวจยีนในตัวอ่อน คู่สามีภรรยาและญาติที่เกี่ยวข้องต้องได้รับการตรวจยีนจากเลือดร่วมด้วย ผลการตรวจยีนในตัวอ่อนจะได้รับภายใน 2-4 เดือน
- Normal Embryo Transfer ตัวอ่อนที่ปกติถูกย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก
การตรวจวิเคราะห์พันธุกรรมตัวอ่อนก่อนการฝังตัวเพื่อตรวจความผิดปกติ ด้านการสับเปลี่ยนตำแหน่งโครงสร้างโครโมโซม
การตรวจวิเคราะห์พันธุกรรมตัวอ่อนก่อนการฝังตัวเพื่อตรวจความผิดปกติ
ด้านการสับเปลี่ยนตำแหน่งโครงสร้างโครโมโซม (PGT-SR)
PGT-SR ย่อมาจาก Preimplantation genetic testing for structural rearrangements (เดิมใช้ PGS translocation) เป็นเทคโนโลยีการตรวจคัดเลือก พันธุกรรมตัวอ่อนก่อนที่จะใส่กลับเข้าโพรงมดลูก สำหรับคู่สมรสที่เป็นพาหะของการสับเปลี่ยนตำแหน่งโครงสร้างโครโมโซมแบบสมดุล (balanced rearrangement carrier) ได้แก่ การสับเปลี่ยนระหว่างโครโมโซมชนิดรีซิโปรคอลรีซิพรอคอล (reciprocal translocations)การสับเปลี่ยนระหว่างโครโมโซมชนิดโรเบิร์ตโซเนียน (Robertsonian translocations) และ การหมุนกลับทิศของโครโมโซม (Inversion) เพื่อคัดเลือกตัวอ่อนที่ปราศจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งจะช่วยลดอัตราการแท้งและเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ทารกที่แข็งแรงสมบูรณ์
1. การสับเปลี่ยนโครโมโซมชนิดรีซิโปรคอลรีซิพรอคอล (reciprocal translocations) เป็นการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนระหว่างสองโครโมโซม ผู้ที่มีความผิดปกติชนิดนี้มีชิ้นส่วนของโครโมโซมอยู่ครบ ไม่มีการเพิ่มหรือลดสารพันธุกรรม เรียกว่าเป็น balanced carrier (รูปที่ 1) ซึ่งจะพบเกิด ขึ้นได้โดยประมาณ 1 ใน 500 รายในประชากรทั่วไป และจะพบมากขึ้นในกลุ่มผู้มีบุตรยาก
รูปที่ 1 การสับเปลี่ยนโครโมโซมชนิดรีซิโปรคอลรีซิพรอคอล (reciprocal translocations)
หากผู้ที่เป็นพาหะสมรสกับผู้ที่มีโครโมโซมปกติจะมีโอกาสผลิตตัวอ่อนที่มีโครโมโซมได้ทั้ง (A) แบบปกติ (Normal) (B) แบบพาหะของ reciprocal translocations (balanced carrier) และ (C) แบบที่มีโครโมโซมขาดหรือเกินซึ่งความผิดปกติเกิดขึ้นได้ประมาณ 80% ของตัวอ่อนทั้งหมด (ดังในรูปที่ 2)
รูปที่ 2 โอกาสเกิดตัวอ่อนที่มีการจัดเรียงโครงสร้างโครโมโซมรูปแบบต่างๆ ในกรณีที่พ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นพาหะของการสับเปลี่ยน
โครโมโซมชนิดรีซิโปรคอลรีซิพรอคอล (reciprocal translocation carrier)
2. การสับเปลี่ยนโครโมโซมแบบโรเบิร์ตโซเนียน (Robertsonian translocations) ซึ่งเป็นการสับเปลี่ยนตำแหน่งระหว่างโครโมโซมในกลุ่ม acrocentric (โครโมโซมที่มีแขนข้างสั้นเล็กมาก) ได้แก่ โครโมโซมคู่ที่ 13, 14, 15, 21, และ 22 โดยเกิดจากการขาดของแขนสั้นทั้งสองโครโมโซม และจากนั้นนำแขนยาวมาเชื่อมต่อกัน ดังนั้นจำนวนโครโมโซมจึงหายไป 1 แท่ง (เหลือโครโมโซมจำนวน 45 แท่ง แทนที่จะเป็น 46 แท่น) โดยที่ชิ้นส่วนสำคัญของโครโมโซมอยู่ครบ (รูปที่ 3) การสับเปลี่ยนของโครโมโซมแบบโรเบิร์ตโซเนียนจะเกิดขึ้นได้โดยประมาณ 1 ในทุกๆ 1,000 ราย
รูปที่ 3 การสับเปลี่ยนโครโมโซมแบบโรเบิร์ตโซเนียน (Robertsonian translocations)
ผู้ที่เป็นพาหะของการสับเปลี่ยนโครโมโซมชนิดโรเบิร์ตโซเนียนอาจจะส่งผลให้มีบุตรที่เป็นกลุ่มอาการดาวน์ที่เกิดจากความผิดปกติแบบTranslocation (Translocation Down syndrome) (รูปที่ 4) หรือ กลุ่มอาการพาทัว (Trisomy 13) หรือ Uniparental disomy (UPD) ที่เกิดจากการได้รับโครโมโซมคู่หนึ่งทั้งสองอัน หรือส่วนหนึ่งของโครโมโซมทั้งสองอัน จากบิดาหรือมารดาเท่านั้น เช่น กลุ่มอาการเพรเดอร์-วิลลี่/ แองเจิลแมน (Prader-Willi / Angelman) ทั้งนี้ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับโครโมโซมที่เกิดการสับเปลี่ยน
รูปที่ 4 โอกาสเกิดตัวอ่อนที่มีการจัดเรียงโครงสร้างโครโมโซมรูปแบบต่างๆ ในกรณีที่พ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นพาหะของการสับเปลี่ยน โครโมโซมแบบโรเบิร์ตโซเนียน (Robertsonian translocations) โดยผู้ที่เป็นพาหะของการสับเปลี่ยนโครโมโซมชนิดโรเบิร์ตโซเนียน ที่ส่วนใหญ่เกิดระหว่างโครโมโซมที่ 14 และ 21 จะมีบุตรที่เป็นกลุ่มอาการดาวน์ที่เกิดจากความผิดปกติ แบบ Translocation (Translocation Down syndrome) ได้
3. การหมุนกลับทิศของโครโมโซม (Inversion) เกิดจากการแตกหักของโครโมโซมสองที่ แล้วมีการกลับทิศของโครโมโซมก่อนที่จะเข้ามาต่อกันใหม่ หากพ่อหรือแม่ที่เป็นพาหะของ Inversion จะมีโอกาสผลิตตัวอ่อนที่โครโมโซมบางส่วนขาดหายไป (deletion) หรือ มีโครโมโซมบางส่วนเพิ่มขึ้นมา (duplication) ซึ่งเป็นตัวอ่อนที่มีโครโมโซมไม่สมดุล
การกลับทิศของโครโมโซมถ้าส่วนกลับทิศรวมเซนโทรเมียร์ไว้ด้วย เรียกว่า pericentric inversion ซึ่งอาจทำให้รูปร่างของโครโมโซมเปลี่ยนแปลงไปจนสังเกตเห็นได้ชัดเจน การกลับทิศแบบที่ไม่รวมเซนโทรเมียร์เรียกว่า paracentric inversion (รูปที่ 5)
รูปที่ 5 การหมุนกลับทิศของโครโมโซม (Inversion) แบบ pericentric inversion และแบบ paracentric inversion
ประโยชน์ของการตรวจ PGT-SR ด้วยเทคโนโลยี NGS
การตรวจ PGT-SR จะตรวจควบคู่กับการตรวจการ Preimplantation Genetic Testing for Aneuploidy (PGT-A) ซึ่งเป็นตรวจวิเคราะห์พันธุกรรมตัวอ่อนก่อนการฝังตัวเพื่อหาความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมของตัวอ่อน ทำให้สามารถคัดเลือกตัวอ่อนที่ดีที่สุดมีความปกติทั้งในระดับจำนวน และโครงสร้างโครโมโซมสำหรับการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งจะช่วยให้
- ลดโอกาสที่จะมีบุตรที่มีความผิดปกติด้านจำนวนและโครงสร้างของโครโมโซม
- ลดโอกาสที่จะมีบุตรที่เป็นพาหะของการสับเปลี่ยนตำแหน่งโครงสร้างโครโมโซมแบบสมดุล ซึ่งจะช่วยลดการส่งผ่านความผิดปกตินี้ไปยังลูกหลานรุ่นต่อไป
- ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ และมีบุตรที่แข็งแรงสมบูรณ์
- ลดความเสี่ยงจากการแท้งบุตร
- ช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาของการทำ IVF โดยลดจำนวนรอบการรักษาจนการตั้งครรภ์ประสบความสำเร็จได้
ใครบ้างที่ควรตรวจ PGT-SR
- คุณหรือคู่สมรสเป็นพาหะของความผิดปกติทางโครงสร้างโครโมโซม แบบต่อไปนี้
- Reciprocal translocation
- Robertsonian translocation
- Inversion
- คู่สมรสที่มีบุตรหรือประวัติการตั้งครรภ์บุตรที่มีความผิดปกติการจัดเรียงโครงสร้างโครโมโซม (translocation และ inversion)
- คู่สมรสที่มีประวัติมีบุตรลักษณะผิดปกติ หรือมีประวัติทารกเสียชีวิตในครรภ์ ทารกคลอดออกมาแล้วเสียชีวิต หรือแท้งบุตรในไตรมาสแรกมากกว่า 1 ครั้ง โดยไม่ทราบสาเหตุ
- คู่สมรสที่เคยทำ IVF หลายรอบ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
ข้อจำกัดการทดสอบ
การย้ายตัวอ่อนที่ผลการตรวจคัดเลือกพันธุกรรมก่อนการฝังตัว (PGT) เป็น “ปกติ” นั้น ถึงแม้ว่าจะช่วยลดโอกาสที่ทารก / เด็กในอนาคต จะมีความผิดปกติ ของโครโมโซมอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามมันไม่ได้กำจัดความเสี่ยงทั้งหมด จึงแนะนำให้ผู้ที่ตั้งครรภ์หลังจากย้ายตัวอ่อนไปตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด เช่น การตรวจชิ้นเนื้อรก (Chorionic villus sampling; CVS) หรือการเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis) ซึ่งเป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำสูงกว่าการตรวจ PGT เพื่อเป็นการยืนยันผล
โปรโมชั่นราคาพิเศษ – Click –
มีข้อสงสัยเพิ่มเติมหรือนัดหมายแพทย์ ติดต่อคลินิก iBaby ได้ที่ช่องทางด้านล่าง
Line: @iBaby หรือ https://lin.ee/xxIlgyJ
Tel: 021688640-43
Email: info@iBabyFertility.com
Website: https://ibabyfertility.com
WeChat: iBaby_Fertility